Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9335
Title: ผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรู้ของสมองทั้งหมดของเพอร์ล่า เอ็ม ไทย์โก และสุนทรียสาธกที่มีต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
Other Titles: Effects of using a guidance activities packagebased [i.e. package based] on Perla M. Taigo’s Whole Brain Literacy (WBL) concept and appreciative inquiry (AI) on organizational engagement of employees in the rehabilitation department of Vichaiyut Hospital
Authors: วัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
อำเภอ อัษฎาวุธ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลวิชัยยุทธ -- พนักงาน
ความภักดีของลูกจ้าง
ความผูกพันต่อองค์การ -- ไทย
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรู้ของสมองทั้งหมดของเพอร์ล่า เอ็ม ไทย์โก และสุนทรียสาธก (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว จำแนกตามเพศ อายุ อายุการทำงาน วุฒิการศึกษา อัตรารายได้ต่อเดือน และสถานภาพการสมรส และ (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว กลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลวิชัยยุทธ จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มเข้ากลุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และความสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบวัดความผูกพันต่อองค์กร มีความเที่ยงเท่ากับ .94 (2) ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรู้ของสมองทั้งหมดของเพอร์ล่า เอ็ม ไทย์โก และสุนทรียสาธก จำนวน 12 กิจกรรม และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่เวชศาสตร์ฟื้นฟู หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามแนวคิดการรู้ของสมองทั้งหมดของเพอร์ล่า เอ็ม ไทย์โก และสุนทรียสาธก มีระดับคะแนนมากกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (2) ความผูกพันต่อองค์กรหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวของเจ้าหน้าที่ เมื่อจำแนกตามเพศ อายุ อายุการทำงาน วุฒิการศึกษา อัตรารายได้ต่อเดือน และสถานภาพการสมรสที่แตกต่างกัน พบว่า มีระดับความผูกพันต่อองค์กรไม่แตกต่างกัน และ (3) ระดับความพึงพอใจโดยภาพรวมที่มีต่อชุดกิจกรรมแนะแนวอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ควรอาศัยเทคโนโลยีในการทำกิจกรรมเพื่อง่าย และสะดวกต่อการทำกิจกรรม รวมทั้งการสื่อสารโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และมีเนื้อหาที่ทันสมัย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9335
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155393.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.57 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons