กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9365
ชื่อเรื่อง: ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องการใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Experience-based instructional packages in the foreign language learning area on the use of conditional sentences for communication for Mathayom Suksa V students of Piyachart Pattana School under H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage, Nakhon Nayok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
มลิวัลย์ เมฆบวร, 2501-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ภาษาอังกฤษ--การสอนด้วยสื่อ
ภาษาอังกฤษ--ประโยค
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องการใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุด การสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร (2) แบบทดสอบก่อน และหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้น เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร มีประสิทธิภาพ 81.39/79.86 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์สูงเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์อยู่ในระดับมาก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9365
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143764.pdf28.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons