กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9365
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorวาสนา ทวีกุลทรัพย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมลิวัลย์ เมฆบวร, 2501-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2023-09-01T07:27:24Z-
dc.date.available2023-09-01T07:27:24Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9365-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องการใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุด การสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร กลุ่ม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 45 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร (2) แบบทดสอบก่อน และหลังเผชิญประสบการณ์แบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า (1) ชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ที่ผลิตขึ้น เรื่อง การใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร มีประสิทธิภาพ 81.39/79.86 ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์สูงเพิ่มขึ้นอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์อยู่ในระดับมากth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isootherth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาษาอังกฤษ--การสอนด้วยสื่อth_TH
dc.subjectภาษาอังกฤษ--ประโยคth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาth_TH
dc.titleชุดการสอนแบบอิงประสบการณ์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ เรื่องการใช้ประโยคเงื่อนไขเพื่อการสื่อสาร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดนครนายกth_TH
dc.title.alternativeExperience-based instructional packages in the foreign language learning area on the use of conditional sentences for communication for Mathayom Suksa V students of Piyachart Pattana School under H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn Patronage, Nakhon Nayok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were (1) to develop experience-based instructional packages in the Foreign Language Learning Area on the Use of Conditional Sentences for Communication for Mathayom Suksa V students based on the set efficiency criterion; (2) to study the learning progress of students who learned from the experience-based instructional packages on the Use of Conditional Sentences for Communication ; and (3) to study the students’ satisfaction with the experiencebased instructional packages on the Use of Conditional Sentences for Communication. The research sample consisted of 45 Mathayom Suksa V students studying in the second semester of the 2013 academic year at Piyachart Pattana School under H.R.H. Maha Chakri Sirindhom Patronage, Nakhon Nayok province, obtained by cluster sampling. The research instruments comprised (1) experience-based instructional packages on the Use of Conditional Sentences for Communication; (2) two parallel forms of an achievement test for pre-testing and post-testing; and (3) a questionnaire on the students’ satisfaction with the experience-based instructional packages. Statistics for data analysis were the E1/E2 efficiency index, t-test, mean, and standard deviation. Research findings showed that (1) the efficiency of experience-based instructional packages was at 81.39/79.86, meeting the set efficiency criterion 80/80; (2) the students learning from the experience-based instructional packages achieved learning progress significantly at the .05 level; and (3) the students’ satisfaction with the experience-based instructional packages was at the high level.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143764.pdf28.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons