Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9382
Title: | ผลการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีพิจารณาเหตุผลอารมณ์และพฤติกรรม ที่มีต่อเจตคติการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชัั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง |
Other Titles: | Effects of group counseling based on the rational emotive behavior therapy on attitudes toward prevention of having premature sexual relationship of Mathayom Suksa V Students in Mabtaput Panpittayakarn School, Rayong Province |
Authors: | ลัดดาวรรณ ณ ระนอง สุวรรณ บุญศรีภูมิ, 2534- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา นิรนาท แสนสา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม จิตวิทยาการปรึกษา เยาวชน--พฤติกรรมทางเพศ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบเจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ก่อนและหลังการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และ (2) เปรียบเทียบเจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนดังกล่าวหลังการทดลองกับในระยะติดตามผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร จังหวัดระยอง ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โปรแกรมการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม และแบบวัดเจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) เจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ที่ได้รับการให้การปรึกษาแบบกลุ่มตามแนวคิดทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) เจตคติต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรของนักเรียนดังกล่าว หลังการทดลองกับใน ระยะติดตามผลไม่แตกต่างกัน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม.(การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9382 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
158636.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.29 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License