Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9384
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุฬารัตน์ ธรรมประทีปth_TH
dc.contributor.authorภัสราภรณ์ พริกชูผล, 2533-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-04T07:24:51Z-
dc.date.available2023-09-04T07:24:51Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9384en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและ วัฏจักรของน้ำ (2) พัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ และ (3) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ช่วยพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ แบบวัดทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยปรากฎว่า (1) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นโดยเฉพาะด้านการให้เหตุผลแบบสมมตินัย และการให้เหตุผลแบบนิรนัย (2) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีจิตวิทยาศาสตร์สูงขึ้น โดยเฉพาะ ความใจกว้าง ความเพียรพยายามมุ่งมั่น ความร่วมมือช่วยเหลือ และการมีเจตนาที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และ (3) แนวปฏิบัติที่ดีของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ (3.1) การสร้างคำถามสำคัญที่มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นการโต้แย้งของนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำอธิบายได้ (3.2) การฝึกนักเรียนให้นำเหตุผลและหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ร่วมในการอธิบาย สามารถส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำอธิบายที่เหมาะสมต่อสมมติฐานหรือคำตอบนั้นได้ (3.3) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้วางแผนการสืบค้นข้อมูลและออกแบบกิจกรรมการทดลอง ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะการสังเกตและรวบรวมข้อมูล ทำให้นักเรียนสามารถตัดสินใจใช้ข้อมูลที่เหมาะสมได้ (3.4) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานเป็นทีมในการวิเคราะห์ข้อมูลรายกลุ่ม สู่การนำเสนอและสร้างข้อสรุปของห้องเรียน สามารถส่งเสริมนักเรียนในด้านการให้เหตุผลแบบอุปนัย และ (3.5) การจัดกิจกรรมการโต้แย้งเพื่อลงข้อสรุป สามารถส่งเสริมให้นักเรียนตัดสินใจใช้หลักฐานประกอบการให้เหตุผลที่เหมาะสมได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้th_TH
dc.subjectวิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)th_TH
dc.subjectการเรียนรู้จากการรู้คิดth_TH
dc.titleการพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดภูเก็ตth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of scientific reasoning skill and scientific attitude through argument-driven inquiry learning model in topic of Water and Water Cycle of Prathom Suksa V students in Phuket Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาศึกษาศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to develop scientific reasoning skill of Prathom Suksa V students with the use of argument-driven inquiry learning model in the topic of Water and Water Cycle; (2) to develop scientific attitude of Prathom Suksa V students with the use of argument-driven inquiry learning model in the topic of Water and Water Cycle; and (3) to study the best practices for learning management of the argument-driven inquiry learning model to help develop scientific reasoning skill. The research sample consisted of 16 Prathom Suksa V students in the second semester of the 2017 academic year. The research instruments used were learning management plans for the argument-driven inquiry learning model in the topic of Water and Water Cycle, a scientific reasoning skill test, and a scientific attitude test. Research data were analyzed using the frequency, and inductive content analysis. Research findings showed that (1) after learning under the argument-driven inquiry learning model, all students had increased their level of scientific reasoning skill, specifically their abductive reasoning and deductive reasoning; (2) after learning under the argument-driven inquiry learning model, all students had increased their level of scientific attitude, specifically their open-mindedness, perseverance, cooperation, and good intention towards science; and (3) the best practices of the argument-driven inquiry learning model derived from this research were the following: (3.1) creating important and efficient questions can motivate students in argumentation and can encourage them to create their explanations; (3.2) training the students to provide specific scientific reasons and empirical evidences to support their explanations can help them to generate explanations appropriate to the hypothesis or the answer; (3.3) allowing the students to make their own plans for data searches and design their own experimental activities can encourage them to increase their observational and data collection skills, which enable them to make decisions for using appropriate data; (3.4) allowing the students to work as a team to analyze data of the group leading toward presentation and creating the classroom conclusions can promote student's inductive reasoning; and (3.5) providing the students with argument activities leading to creating conclusions can encourage the students to use evidences to support their appropriate reasoningen_US
dc.contributor.coadvisorทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์th_TH
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159707.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.56 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons