Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9384
Title: | การพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์ โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดภูเก็ต |
Other Titles: | Development of scientific reasoning skill and scientific attitude through argument-driven inquiry learning model in topic of Water and Water Cycle of Prathom Suksa V students in Phuket Province |
Authors: | จุฬารัตน์ ธรรมประทีป ภัสราภรณ์ พริกชูผล, 2533- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา--วิทยานิพนธ์ การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) การเรียนรู้จากการรู้คิด |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและ วัฏจักรของน้ำ (2) พัฒนาจิตวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะร่วมกับกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ และ (3) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ช่วยพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง เรื่อง น้ำและวัฏจักรของน้ำ แบบวัดทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และแบบวัดจิตวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าความถี่ และการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยปรากฎว่า (1) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีการพัฒนาทักษะการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงขึ้นโดยเฉพาะด้านการให้เหตุผลแบบสมมตินัย และการให้เหตุผลแบบนิรนัย (2) หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้ง นักเรียนทุกคนมีจิตวิทยาศาสตร์สูงขึ้น โดยเฉพาะ ความใจกว้าง ความเพียรพยายามมุ่งมั่น ความร่วมมือช่วยเหลือ และการมีเจตนาที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ และ (3) แนวปฏิบัติที่ดีของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะที่ขับเคลื่อนด้วยกลวิธีการโต้แย้งที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ มีดังนี้ (3.1) การสร้างคำถามสำคัญที่มีประสิทธิภาพสามารถกระตุ้นการโต้แย้งของนักเรียนและส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำอธิบายได้ (3.2) การฝึกนักเรียนให้นำเหตุผลและหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ร่วมในการอธิบาย สามารถส่งเสริมให้นักเรียนสร้างคำอธิบายที่เหมาะสมต่อสมมติฐานหรือคำตอบนั้นได้ (3.3) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้วางแผนการสืบค้นข้อมูลและออกแบบกิจกรรมการทดลอง ส่งเสริมให้นักเรียนฝึกทักษะการสังเกตและรวบรวมข้อมูล ทำให้นักเรียนสามารถตัดสินใจใช้ข้อมูลที่เหมาะสมได้ (3.4) การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทำงานเป็นทีมในการวิเคราะห์ข้อมูลรายกลุ่ม สู่การนำเสนอและสร้างข้อสรุปของห้องเรียน สามารถส่งเสริมนักเรียนในด้านการให้เหตุผลแบบอุปนัย และ (3.5) การจัดกิจกรรมการโต้แย้งเพื่อลงข้อสรุป สามารถส่งเสริมให้นักเรียนตัดสินใจใช้หลักฐานประกอบการให้เหตุผลที่เหมาะสมได้ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9384 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159707.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.56 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License