Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9401
Title: ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีต่อการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา
Other Titles: The opinions of lower secondary students towards using social media for science learning of Deebuk Phang-nga Wittayayon School in Phang-nga Province
Authors: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รชต ปานบุญ, 2528- ผู้แต่ง.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์--การศึกษาและการสอน
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
วิทยาศาสตร์--การสอนด้วยสื่อ
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ตอนต้น ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา ที่ศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 316 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฎว่า ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีต่อการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนดีบุกพังงาวิทยายน จังหวัดพังงา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก 5 ด้าน ด้านเหล่านี้พร้อมด้วยข้อกระทงที่ได้ ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ (1) ด้านวัตถุประสงค์ของการใช้สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ เพื่อค้นคว้าข้อมูลประกอบการทำงานชิ้นงานที่ครูมอบหมาย (2) ด้านเนื้อหาสาระของการใช้ สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ เนื้อหาสาระจากสื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์มีความชัดเจน เข้าใจง่าย (3) ด้านวิธีการนำเสนอสื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ การนำเสนอด้วยรูปภาพ (4) ด้านกิจกรรมประกอบการใช้สื่อสังคม เพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ นักเรียนมีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่จัดขึ้นในชั้นเรียน และ (5) ด้านประโยชน์ที่ได้รับจากสื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ เป็นแหล่งความรู้และสืบค้นข้อมูลได้เป็นอย่างดี และผลการวิจัยอยู่ในระดับปานกลาง 2 ด้าน ด้านเหล่านี้พร้อมด้วยข้อกระทงที่ได้ค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ (1) ด้านประเภทของสื่อสังคมที่เหมาะสมกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คือ เฟซบุ๊ก และ (2) ด้านปัญหาและอุปสรรคของการใช้ สื่อสังคมเพื่อการเรียนรู้ คือ สัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ใช้เชื่อมต่อสื่อสังคมในโรงเรียน ไม่ทั่วถึง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9401
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
161433.pdf14.07 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons