กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/940
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมคอรับชันทางการเมืองของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวน กรณีศึกษาการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Political corruption by warrant level police officers : a case study of the subdistrict administration organization elections in Phang Nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข
เจริญรัตน์ บำรุงนา, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รสลิน ศิริยะพันธุ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
การทุจริตและประพฤติมิชอบทางการเมือง -- ไทย
การเลือกตั้ง -- การทุจริต
ตำรวจ
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจ้ยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภารกิจหน้าที่สำคัญของตำรวจชั้นประทวน ในการสนับสนุนการเลือกตั้งการเมืองท้องถิ่น (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและรูปแบบการคอรัปชันของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพังงา การวิจัยใซ้การศึกษาเชิงคุณภาพและปริมาณ ประชากร กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในจังหวัดพังงา 18 คน นักการเมืองท้องถิ่น 8 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งเขต 4 คน รวมทั้งสิ้น 30 คน โดยใช้วิธีการลุ่มอย่างง่าย เครื่องมึอที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยเป็นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสัมภาษณ์กลุ่ม วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลแบบพรรณนาบรรยายในลักษณะวิเคราะห์เนี้อหา ข้อมูลการศึกษาเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าร้อยละนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง ผลการวิจัยพบว่า (1) เจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนมีภารกิจหน้าที่ในการสนับสนุนการ เลือกตั้งการเมืองท้องถิ่น ในส่วนที่เกี่ยวกับการดูแลรักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยประจำหน่วยเลือกตั้งเป็นสำคัญ (2) พฤติกรรมและรูปแบบการคอรัปชันของเจ้าหน้าที่ตำรวจชั้นประทวนที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพังงา มีหลากหลายรูปแบบและมีความซับซ้อนมาก และส่งผลกระทบต่อหน่วยงานสองหน่วยงานคือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดพังงา ข้อเสนอแนะ บทบาทของคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องมีความชัดเจนในการกำหนดการปฏิบัติหน้าที่ของทุกฝ่าย นักการเมืองทุกระดับต้องข่วยกันสร้างจิตสำนึกที่ดีในทางการเมือง หน่วยงานข้าราชการตำรวจและองค์การบริหารส่วนตำบล ต้องร่วมมือกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันการทุจริตที่เกิดขึ้นให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2549
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/940
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib97294.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons