Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9443
Title: แนวทางส่งเสริมการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Extension guideline of vegetable production according to good agricultural practices of farmer in Sao Hai District, Saraburi Province
Authors: เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
มัณฑณา พานนา, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
ผัก--การผลิต
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตผัก 3) ความรู้และการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและ 5) การได้รับความรู้และความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า 1)เกษตรกรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีส่วนมาก เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.27 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับการศึกษาประถมศึกษา กลุ่มที่ไม่ผ่านการรับรองมาตรฐาน ส่วนมากเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.77 ปี สถานภาพสมรส ระดับการศึกษาประถมศึกษา 2) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มส่วนมากซื้อปัจจัยการผลิตจากร้านค้าที่มีการจดทะเบียนและร้านค้าในชุมชน เตรียมดินโดยไถพรวน 1 ครั้ง และใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปลูกด้วยเมล็ด ให้น้าด้วยสปริงเกอร์ ป้องกันกาจัดโรคและแมลงด้วยสารเคมีโดยใช้ตามคาแนะนา เก็บเกี่ยวตามอายุ มีการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวคือ การขนย้ายผลผลิตด้วยพาหนะมีการตัดแต่งและคัดเกรดแหล่งรับซื้อผลผลิตคือตลาดชุมชนและพ่อค้าคนกลาง 3) เกษตรกรกลุ่มได้รับการรับรองมีคะแนนความรู้สูงกว่ากลุ่มไม่ได้รับการรับรองทั้ง 8 ประเด็น และ พบว่า เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีประเด็นที่ปฏิบัติแตกต่างกันที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 คือ การบันทึกข้อมูลและการตามสอบ 4) ปัญหาพบว่า เกษตรกรกลุ่มที่ผ่านการรับรอง มีปัญหาด้านขาดแคลนแหล่งน้า ส่วนกลุ่มไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาด้านอุปกรณ์เกี่ยวกับสุขลักษณะส่วนบุคคลไม่เพียงพอกับผู้ปฏิบัติ และขาดความรู้ความเข้าใจด้านการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว และการป้องกันการปนเปื้อนสู่ผลผลิต 5) เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีระดับความต้องการความรู้สูงกว่าระดับการได้รับความรู้ในเรื่อง ระบบการให้น้า การใช้ปุ๋ยอย่างถูกวิธีการใช้สารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัยการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีแนวทางการส่งเสริม ได้แก่ การบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ให้ความรู้ตามความต้องการของเกษตรกร ผ่านสื่อบุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรจากภาครัฐ และภาคเอกชน ใช้วิธีการส่งเสริมแบบผสมผสาน ได้แก่ ฝึกปฏิบัติ ทัศนศึกษา สาธิต และบรรยาย
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9443
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.65 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons