กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9451
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนของครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายรัษฏาเรืองวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of electronic media of teachers in the Rassada Ruangwit network schools under Trang Primary Education Service Area Office 2
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกียรติศักดิ์ บัณฑิต, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสอนด้วยสื่อ--ไทย--ตรัง
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มเครือข่ายรัษฏาเรืองวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในกลุ่มเครือข่ายรัษฏาเรืองวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 จำนวน 222 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มเครือข่ายรัษฏาเรืองวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า การใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดการเรียนการสอนของครูในกลุ่มเครือข่ายรัษฏาเรืองวิทย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยมีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ด้านเป้าหมายการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ การให้บริการเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (2) ด้านประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ คือ บทเรียนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และเว็บไซต์ทางวิชาการ (3) ด้านลักษณะของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ คือ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเพื่อนในชั้นเรียน (4) ด้านการจัดการสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดหาเจ้าหน้าที่รับผิดชอบและดูแลรักษา สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (5) ด้านกระบวนการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การจัดลําดับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ของครูในแต่ละช่วงชั้นหรือรายวิชา (6) ด้านวิธีการประเมินการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ การประเมินความพร้อมเกี่ยวกับการใช้สื่อ เช่น สภาพแวดล้อมของห้องเรียน และ (7) ด้านเทคนิควิธีการใช้ดูแลบำรุงรักษาสื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ มีการใช้ซอฟแวร์เพื่อดูแลและจัดการระบบการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9451
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons