กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9452
ชื่อเรื่อง: สื่อที่เหมาะสมเพื่อการส่งเสริมการจัดการดินและปุ๋ยเพื่อการผลิตอ้อยของเกษตรกร อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Appropriate media for extension of soil and fertilizer management For sugarcane farmers in Bang-Krathum District Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
มญช์พาณี แสงสุวรรณ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
การจัดการดิน--ไทย--พิษณุโลก
ปุ๋ย
อ้อย--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจของเกษตรกรและอุปกรณ์รับสื่อ 2) ศึกษาสภาพการจัดการดินและปุ๋ย 3) ศึกษาความต้องการสื่อเพื่อการส่งเสริมการจัดการดินและปุ๋ย 4) พัฒนาสื่อตามความต้องการของเกษตรกร 5) ประเมินความเหมาะสมของสื่อที่พัฒนาขึ้นตามความต้องการของเกษตรกร ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 53 ปี วัย Gen-X พร้อมที่จะเรียนรู้เทคโนโลยีเท่าที่จำเป็นต้องใช้งาน ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบประถมศึกษาปีที่ 4 2) เกษตรกรทุกรายมีการเตรียมดินก่อนปลูกโดยใช้ผาล 3 และ 7 ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร้อยละ 41.7 ไถกลบใบอ้อยลงดิน ร้อยละ 11.7 เกษตรกรร้อยละ 100 ใช้ปุ๋ยเคมี มีการวิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินร้อยละ 11.7 3) เกษตรกรต้องการสื่อที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน การปรับปรุงบำรุงดิน และวิธีการตรวจวิเคราะห์ดิน ตามลำดับ ประเภทสื่อที่ต้องการคือสื่อเครือข่ายทางสังคม สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อกลุ่ม สื่อบุคคลและสื่อมวลชน ตามลำดับ 4) สื่อที่ผลิตตามความต้องการของเกษตรกรได้แก่ สื่อวีดิทัศน์ เพื่อเผยแพร่ผ่านสื่อเครือข่ายสังคม ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของเกษตรกรและกำหนดเนื้อหาตามความต้องการของเกษตรกร ได้แก่ การเก็บตัวอย่างดินเพื่อการวิเคราะห์ การอ่านค่าวิเคราะห์ การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยแบ่งวีดิทัศน์ เป็น 2 ตอน ตอนละ 3 นาที โดยกระบวนการพัฒนาสื่อเริ่มจากการศึกษาความต้องการของเกษตรกร วางแผนการผลิตสื่อกาหนดรูปแบบและโครงร่างสื่อผลิตสื่อตามแผน และประเมินสื่อ 5) จากการประเมินความเหมาะสมของสื่อที่ผลิตขึ้น เกษตรกรเห็นว่าวีดิทัศน์มีความเหมาะสมในระดับมากในประเด็นความชัดเจนของภาพ ภาษาที่ใช้ ขนาดและตัวอักษร ความชัดเจนของเสียงบรรยาย ความยาวของวีดิทัศน์ เนื้อหาตรงความต้องการ และสามารถนาไปปฏิบัติตามได้ ตามลำดับ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9452
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.53 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons