กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9464
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการจัดระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวนํ้าหอมของเกษตรกร อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of agricultural ecology system management in aromatic coconut by earners in Damnoen Saduak, Ratchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุมาพร อมรธีระกุล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มะพร้าว
การจัดการระบบนิเวศ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่มศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวน้าหอมในมาอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 2) สภาพระบบนิเวศเกษตรและการจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้าหอม 3) ความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์การจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอม 4) สภาพการส่งเสริมและสภาพความต้องการการส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอม 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอม ผลการศึกษาพบว่า1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุเฉลี่ย 57.35 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น (ป.4) มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 1.785 คน มีประสบการณ์การปลูกมะพร้าวน้ำหอม 13.13 ปีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย12.40 ไร่ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของเองและจะใช้แรงงานในครัวเรือนเป็นหลักเกษตรกรมีหนี้สินเฉลี่ย 47,539.24 บาทต่อครัวเรือนและส่วนใหญ่ใช้เงินตัวเองลงทุน 2) เกษตรกรมีการจัดการระบบนิเวศเกษตร โดยการปลูกมะพร้าวน้ำหอมเป็นชั้นยอดสุด การกำจัดวัชพืชด้วยวิธีการใช้สารเคมีและการนำดินเลนที่เกิดจากการย่อยสลายของอินทรีย์ในน้ำมารดพืช 3) เกษตรกรมีความรู้ในการจัดการระบบนิเวศเกษตรอยู่ในระดับดี ถึงดีมาก โดยส่วนมากมีความรู้ในประเด็นผึ้งมีส่วนช่วยในการผสมเกสรทำให้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและส่วนน้อยมีความรู้ในประเด็นปลากินเนื้อไม่สามารถกินสาหร่ายและแหนเป็นอาหารได้และเกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์การจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอมในระดับปานกลางโดยประเด็นที่เห็นว่ามีประโยชน์มากที่สุด คือด้านความรู้เรื่องการจัดการระบบนิเวศทางน้ำ 4)เกษตรกรมีความต้องการด้านเนื้อหาความรู้มากที่สุด โดยมีความต้องการในระดับมากที่สุดในประเด็นความรู้เรื่องการจัดการระบบนิเวศทางน้ำและเกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมที่มาจากภาครัฐและผู้นำชุมชนโดยวิธีการที่ต้องการมากที่สุดคือ วิทยุโทรทัศน์และการอบรมแบบกลุ่ม 5)เกษตรกรมีปัญหาการส่งเสริมในประเด็นเนื้อหาเรื่องการปฏิสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศเกษตรและการทำกิจกรรมไม่ทั่วถึงเกษตรกรมีข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมโดยเสนอแนะให้มีการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ที่สนใจการจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอมและการส่งเสริมองค์ความรู้ในเรื่องการจัดการระบบนิเวศเกษตรในสวนมะพร้าวน้ำหอมโดยวิธีการประชาสัมพันธ์และจัดนิทรรศการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9464
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons