Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9467
Title: แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำปาง เขต 2
Other Titles: Guidelines for development of academic networks of schools under Lampang Primary Educational Service Area Office 2
Authors: โสภนา สุดสมบูรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิทธิโชค สุขวิสิทธิ์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารการศึกษา--การศึกษาเฉพาะกรณี
คุณภาพทางวิชาการ
การพัฒนาการศึกษา--ไทย--ลำปาง
การศึกษาอิสระ--บริหารการศึกษา
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา และ 4) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 จำนวน 297 คน กำหนดขนาดโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน จากนั้นสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของสถานศึกษา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 9 คน ได้แก่ รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่าย และกรรมการศูนย์เครือข่าย เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบตอบสนองคู่เกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การดำเนินงานเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .97 และ .98 ตามลำดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) สภาพที่พึงประสงค์ของการดำเนินงานเครือข่ายวิชาการของสถานศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาเครือข่ายวิชาการเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ การติดตามผลการดำเนินงานของเครือข่าย การพัฒนาสมาชิกเครือข่าย การส่งเสริมกิจกรรมสำคัญของเครือข่าย การมีส่วนร่วมของสมาชิกเครือข่าย กระบวนการปฏิบัติงานของเครือข่าย และการกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของเครือข่าย และ 4) แนวทางการพัฒนาเครือข่ายวิชาการประกอบด้วย เครือข่ายควร (1) ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ความสามารถของครูและบุคลากรในสถานศึกษาสมาชิกอย่างต่อเนื่อง (2) ส่งเสริมให้สถานศึกษาสมาชิกเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาเครือข่ายวิชาการอย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม (3) กำหนดรูปแบบการนิเทศ ติดตามและประเมินผลที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด (4) นำผลการนิเทศไปใช้ในการพัฒนาเครือข่ายวิชาการอย่างเป็นระบบ และ (5) จัดให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9467
Appears in Collections:Edu-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.6 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons