กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9481
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อการรณรงค์โครงการ "3 ดำมหัศจรรย์ภูพาน" ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communications to promote the "Sam Dum Mahasajan Phu Phan", project of Phu Phan Development Study Center, Sakon Nakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุภาภรณ์ ศรีดี
รัฐวิทย์ พงษ์วัชรนนท์, 2494-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
หัสพร ทองแดง
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารในการพัฒนาชนบท--ไทย--สกลนคร
การสื่อสารทางการเกษตร--ไทย--สกลนคร
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการใช้สื่อประชาสัมพันธ์โครงการ "3 ดำมหัศจรรย์ภูพาน” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร และ 2) ประเด็นสารการประชาสัมพันธ์โครงการ "3 ดำมหัศจรรย์ภูพาน” ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์แบบเชิงลึก เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 14 คน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ (1) ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จำนวน 1 คน (2) กลุ่มผู้ร่วมปฏิบัติงานด้านประชาสัมพันธ์ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จำนวน 3 คน (3) กลุ่มงานส่งเสริมทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จํานวน 1 คน (4) กลุ่มเจ้าหน้าที่ฝ่ายขยายผลศูนย์เรียนรู้ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานจำนวน 2 คน (5) นักวิชาการงานศึกษาและพัฒนาด้านปศุสัตว์ จํานวน 1 คน (6) กลุ่มเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ จำนวน 6 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย 1) รูปแบบการใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ได้แก่ (1) สื่อบุคคล หัวหน้าโครงการ ซึ่งเป็นสัตว์แพทย์ที่เชี่ยวชาญและรู้จักเข้าใจในพื้นที่เป็นนักถ่ายทอดจัดอบรมที่น่าเชื่อถือสื่อกลางที่ทํางานอย่างเกิดผลทำให้โครงการรู้จักเป็นวงกว้าง (2) สื่อออนไลน์ หรือ โซเชียลมีเดีย ศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพาน จังหวัดสกลนคร ดำเนินการประชาสัมพันธ์ผ่านยูทูบเป็นสื่อที่ได้มาจากรายการโทรทัศน์ออนไลน์อยู่หลายรายการ โดยไม่ได้มีการซื้อสื่อ รวมทั้งยังได้มีการเปิดบัญชีเฟซบุ๊ก เพื่อเพิ่มยอดผู้ติดตาม ซึ่งได้ผลดีและแนวโน้มจะมียอดผู้ติดตามและคอมเมนท์มากยิ่งขึ้น (3) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยง ไก่ดำ หมู และวัวดำ วิธีเลี้ยงวิธีขุน แก้ปัญหาด้านการตลาด รวมทั้งป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่หน้าโครงการ และแผ่นพับให้ความรู้ของโครงการ 2) ประเด็นสารการประชาสัมพันธ์โครงการ "3 ดำมหัศจรรย์ภูพาน จังหวัดสกลนคร ใช้จำนวน 2 ข้อความ ได้แก่ 3 ดำมหัศจรรย์ภูพาน” เป็นกุศโลบายในการใช้คำ เพื่อให้ได้รับการสนใจจากเกษตรกร โดยนำสัตว์ 3 ชนิด ไก่ หมู วัวดำมาตั้งเป็นชื่อโครงการ และ “ตอบโจทย์ เลี้ยงง่าย ทนต่อโรค ขายไปไม่ขาดทุน คุณภาพเทียบต่างประเทศ ดังหลักการสำคัญที่ยึดเป็นแนวทางในการทำงานตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชที่ทรงให้ไว้ว่า การทำงานด้านปศุสัตว์จะต้องผ่านเกณฑ์ 5 ข้อ ได้แก่ ต้องเป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย ควรใช้เทคโนโลยีแบบง่าย ใช้อาหารสัตว์ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น สัตว์ที่มีการพัฒนาขึ้นมาต้องมีความทนทานต่อโรคระบาด รวมถึงสภาพพื้นที่เลี้ยงสัตว์ที่พัฒนาขึ้นมาต้องบริโภค และจําหน่ายได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9481
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.21 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons