กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9485
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Communication for building political popularity of the mayor of Khao Niphan Sub-district municipality, wiang Sa District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทยาธร ท่อแก้ว
กานต์รวี กรดมาก, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กานต์ บุญศิริ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย--สุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองของนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เกี่ยวกับ 1) กระบวนการจัดการสื่อสาร และ 2) กลยุทธ์การสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารองค์กรเทศบาลตำบลเขานิพันธ์โดยตรง รวมจำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง ประกอบด้วย (1) การวางแผนโดยทีมประชาสัมพันธ์ของเทศบาลร่วมกับนายกเทศมนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อสื่อสารให้ความรู้ความเข้าใจในประเด็นเนื้อหาเกี่ยวกับนโยบายที่โดดเด่น วิธีการทำงานเชิงรุก ปัญหาของประชาชนมาเป็นโจทย์งาน และผลงานที่ความต้องการของประชาชน กําหนดช่องทางสื่อสารที่ประชาชนสะดวกในการเปิดรับไปยังผู้รับสารที่เป็นแกนนำในชุมชนและประชาชนทั่วไป (2) ดำเนินการสื่อสารผ่านช่องทางด้วยสื่อบุคคล คือ นายกเทศมนตรีผ่านกิจกรรมการประชุมคณะทำงานต่าง ๆ การออกเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ ใช้วิทยุเพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ใช้สื่อสังคมออนไลน์ประเภทเฟซบุ๊กและแอปพลิเคชั่นไลน์เพื่อรายงานกิจกรรมและภาพลักษณ์นายกเทศมนตรี (3) การประเมินผลการสื่อสารโดยเจ้าหน้าที่ของเทศบาลทุก 6 เดือนด้านการรับรู้ข่าวสารและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน 2) กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมือง ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนผู้รับสารโดยใช้วิธีการสร้างความสัมพันธ์และการจูงใจให้ร่วมเป็นเครือข่ายโดย ให้เห็นผลประโยชน์ร่วมกันรวมทั้งการแสดงออกให้ประชาชนการเข้าถึงง่าย และสามารถพึ่งพาได้ (2) กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์ทีมปฏิบัติงาน โดยใช้วิธีการประสานงานระหว่างนายกเทศมนตรีกับเพื่อนร่วมงานในการเป็นทีมผู้ส่งสารและทํางานเป็นทีมเดียวกันที่มีความเป็นเอกภาพ (3) กลยุทธ์การสื่อสารด้วยการสร้างกิจกรรมที่ประชาชนสนใจ โดยมุ่งเน้นวิธีการปรับทุกข์ผูกมิตรระหว่างกันในการรับข้อมูล การสะท้อนปัญหาการนําปัญหาไปแก้ใขการรายงานผลงาน การสร้างโอกาส การสร้างความหวัง โดยนายกเทศมนตรีจะเข้าร่วมกิจกรรมด้วยตนเองที่จัดขึ้นทุกครั้งและมีการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง และ (4) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการรับรู้ของประชาชนในพื้นที่โดยสร้างการรับรู้ผ่านช่องทางการสื่อสารที่กำหนดไว้ มีการเลือกสรรประเด็นสารที่ให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสอดคล้องแต่ละช่องทาง มีการประเมินการสื่อสารทั้งรูปแบบการสํารวจความคิดเห็นของประชาชนและการรับฟังด้วยการประชุมกลุ่มย่อย เพื่อนําผลการประเมินมาปรับปรุงการสื่อสาร และนํามาพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติงานตามความสามารถของแต่ละคน เพื่อยกระดับการสื่อสารเพื่อสร้างความนิยมทางการเมืองให้บรรลุผล
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9485
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons