กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9490
ชื่อเรื่อง: การศึกษาประสิทธิภาพการจัดการของโรงพยาบาลทหารบกโดยการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มข้อมูล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of management efficiency of Royal Thai Army Hospital using Data Envelopment Analysis
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชรี ผาสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฏฐ์ธนิน เอื้อศิลป์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พุทธคุณ เพ็ญภู่, 2535-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
โรงพยาบาลทหารบก--การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพการจัดการของโรงพยาบาลทหารบก และ 2) ศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของโรงพยาบาลทหารบก ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ โรงพยาบาลทหารบกทั้ง 37 แห่ง ใช้ข้อมูลทุติยภูมิในการศึกษา โดยรวบรวมจากโรงพยาบาลทั้ง 37 แห่ง และกรมแพทย์ทหารบก ปีงบประมาณ 2561 ใช้เทคนิคการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้มในการวัดประสิทธิภาพการจัดการของโรงพยาบาลทหารบก การวัดประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรสุขภาพใช้วิธีสองลำดับขั้น และการวัดประสิทธิภาพการจัดการด้านต้นทุนใช้แบบจําลองต้นทุนที่หาค่าต่ำที่สุด โดยวิเคราะห์แยกตามกลุ่มขนาดของโรงพยาบาลประกอบด้วยโรงพยาบาลระดับภาค ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็กผลการศึกษาพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการด้านทรัพยากรสุขภาพ มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 0.889 จํานวนโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจํานวน 16 แห่ง ร้อยละ 43.2 และโรงพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพจํานวน 21 แห่ง ร้อยละ 56.8 ประสิทธิภาพการจัดการด้านต้นทุน มีค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพเท่ากับ 0.989 โรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพจํานวน 24 แห่ง ร้อยละ 64.9 และโรงพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพจํานวน 13 แห่ง ร้อยละ 35.1 และ 2) แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านทรัพยากรสุขภาพของโรงพยาบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพ พบว่า สามารถลดปัจจัยนําเข้าลงเฉลี่ยร้อยละ 11.1 โดยการดำเนินงานอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยนำเข้าสำคัญที่สามารถจัดสรรได้ คือ จํานวนพยาบาลและจํานวนแพทย์ โดยจัดสรรให้เหมาะสมกับอัตราการให้บริการในกลุ่มโรงพยาบาลทหารบก สําหรับแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการจัดการด้านต้นทุนของโรงพยาบาล พบว่า การดำเนินงานอยู่ในช่วงผลได้ต่อขนาดลดลง การลดปัจจัยนําเข้าไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้ ดังนั้นจึงควรมีการปรับเปลี่ยนนโยบายการบริหารจัดการด้านต้นทุนของโรงพยาบาลทหารบก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9490
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons