กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/949
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการอนุรักษ์และการพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาโครงการบ้านปลา หมู่ 8 บ้านหินดาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The model of the marine ecosystem conservation and development through community participation : a case study of the Baan Pla Project, Hin-Dard Village, Moo 8, Tambon Klong-Yai, Leam-Ngob District, Trat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สรายุทธ ยหะกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิสิษฐ์ พงศาปรมัตถ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
นิเวศวิทยาชายฝั่ง--การอนุรักษ์และฟื้นฟู--การมีส่วนร่วมของประชาชน
นิเวศวิทยาชายฝั่ง--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) รูปแบบการอนุรักษ์และการพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่ง ทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน (2) ผลที่เกิดจากการอนุรักษ์การพัฒนาและการมีส่วนร่วมของชุมชนและ (3) จิตส่านึกในการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลของชาวบ้านในพื้นที่บ้านหินดาดหมู่ 8 ตำบล คลองใหญ่ อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ซึ่งการวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์แบบ เจาะลึกเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการบ้านปลาและกลุ่มชาวบ้าน บ้านหินดาด หมู่ 8 รวม 17 คน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ประชาชนในชุมชน 201คน กลุ่มเยาวชนที่ร่วมโครงการ 15 คนเจ้าหน้าที่ของรัฐ 15 คน รวม 231คน โดยการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ได้แก่ การแจกแจง ความถี่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ แบบเพืยร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการอนุรักษ์ระบบนิเวศชายฝั่งทะเลโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ รูปแบบที่หนึ่งการมีส่วนร่วมในการกำหนดการใช้ทรัพยากรทางทะเลเพื่อการบริโภค โดยคำนึงถึงขนาด ของสัตว์น้ำ รูปแบบที่สองการสนับสนุนในด้านวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในกิจกรรมการอนุรักษ์ และ รูปแบบที่สามารถกำหนดหลักเกณฑ์การทำการประมงของชาวบ้าน และรูปแบบการพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่ง ทะเลโดยการมีส่วนร่วม ได้แก่ กิจกรรมของโครงการอย่างยั่งยนเพื่อพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งทะเล และการ สร้างและพัฒนาความร่วมมือ โดยถึอว่าเป็นหน้าที่ของทุกคน (2) ส่วนผลจากการอนุรักษ์และการพัฒนาดลอด การมีส่วนร่วมของชุมชน ตามโครงการบ้านปลา พบว่า ชาวบ้านมีความรู้ความเข้าใจและคำนึงถึงประโยชษ์และ โทษของการทำลายระบบนิเวศชายฝั่งทะเล จึงได้รวมตัวกันเพื่อปกป้องและเฝ้าระวังไม่ให้มีการทำลาย มีการ อนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคและประกอบอาชีพที่ยั่งยืนเพื่อเป็นรากฐานทางด้านเศรษฐกิจและ พัฒนาให้เป็นแหล่งความรู้และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยให้ความร่วมมือ สนับสนุนวัสดุอุปกรณ์และเข้า ร่วมกิจกรรมในโครงการบ้านปลา (3) จิตสำนึกในการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลของชาวบ้านใน พี้นที่บ้านหินดาด พบว่า ชาวบ้านหินดาดมีควานรู้ ความเข้าใจและความสนใจในระบบนิเวศชายฝั่งทะเลสูง แสดงว่าชาวบ้านหินดาดที่มีความรู้ ความเข้าใจ และความสนใจในระบบนิเวศชายส่งทะเลสูง ก็จะมีจิตส่านึก ในการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาระบบนิเวศชายฝั่งทะเลสูง โดยมีค่า R เท่ากับ (.059) และค่า P เท่ากับ (0.01)
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/949
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (12).pdfเอกสารฉบับเต็ม11.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons