กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9504
ชื่อเรื่อง: | การผลิตกล้วยหอมทองเพื่อให้ได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Gros michel banana production based on good agricultural practice standard by farmers in Nong Suea District of Pathum Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา คณิศร ผลิผล, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ กล้วยหอมทอง--มาตรฐานการผลิต การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องของการปลูกกล้วยหอมทอง 2) การผลิตกล้วยหอมทองตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตกล้วยหอมทองตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรผู้ผลิตกล้วยหอมทอง ตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรในการศึกษาในครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยหอมทองในอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี จํานวน 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรที่ได้รับใบรับรองแปลงเกษตรดีที่เหมาะสม และเกษตรกรที่ไม่ได้รับใบรับรองแปลงเกษตรดีที่เหมาะสม โดยกําหนดตัวอย่างกลุ่มละ 57 ราย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คอมพิวเตอร์ โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ส่วนใหญ่จบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พื้นที่ทําสวนกล้วยหอมทองเฉลี่ย 8.09 ไร่ และ 8.59 ไร่ ตามลำดับ รายได้ในการทําสวนกล้วยหอมทอง 227,884.62 บาท/ปี และ 217,612.56 บาท/ปี ตามลำดับ 2) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีการผลิตกล้วยหอมทองโดยปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเกือบทุกประเด็น และไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่มทุกรายมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตกล้วยหอมทองตามหลักการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเป็นอย่างดี 4) เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการการส่งเสริมระดับมากเกือบทุกประเด็น ยกเว้นการติดต่อกับเจ้าหน้าที่เป็นรายบุคคลอยู่ในระดับน้อยที่สุด และ 5) เกษตรกรที่ได้ใบรับรองการปฏิบัติทางเกษตรที่ดี มีปัญหาระดับมาก คือ ราคากล้วยหอมทองทั่วไปกับกล้วยหอมทองที่ได้รับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีไม่แตกต่างกัน ส่วนเกษตรกรที่ไม่ได้ใบรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี มีปัญหาระดับมาก คือ การขาดความรู้เรื่องการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกล้วยหอมทอง และราคากล้วยหอมทองค่อนข้างต่ำ โดยมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนการใช้สารชีวภัณฑ์ในการจัดการศัตรูพืช |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9504 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 17.91 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License