Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9509
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorพิชญาภา พงษ์พัว, 2534--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-09-14T07:06:51Z-
dc.date.available2023-09-14T07:06:51Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9509-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน 3) การรับรู้และการปฏิบัติในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน 4) ความต้องการในการส่งเสริมการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรือนปลูกพืช ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมจำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.80 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.76ปี ร้อยละ 31.20 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 83.90 ผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแนะนํา มีพื้นที่ทําการเกษตรเฉลี่ย 3.70 ไร่ ต้นทุนในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเหลีย 9,946.43 บาท/ปี มีประสบการณ์การผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเฉลี่ย 3.95 ปี โดยมีการปลูกคะน้าในโรงเรือนมากที่สุด ในปี พ.ศ.2563 2) เกษตรกรมีจํานวนแรงงานในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเฉลี่ย 1.73 คน ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชและผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรียนเฉลี่ย 5.7 รอบ/ปี 3) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการรับรู้และปฏิบัติในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนทั้ง 2 ประเด็น ได้แก่ น้ำที่ใช้ในแปลงปลูก พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษา สุขลักษณะส่วนบุคคล และการบันทึกข้อมูล 4) เกษตรกรมีความต้องการเนื้อหาในการส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด ในเรื่องการบำรุงรักษา โรงเรียนผ่านสื่อบุคคลที่เป็นราชการ และต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากที่สุดจากการบรรยาย ส่วนเนื้อหาที่ต้องการในระดับมากที่สุด คือ เรื่องการผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน 5) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นปัญหาอันดับ 1 คือ ปัญหาด้านการตลาด เรื่องการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่วนประเด็นปัญหาที่พบในระดับน้อย คือ ปัญหาด้านการเตรียมพื้นที่ปลูก และมีข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ ด้านพัฒนากระบวนการผลิต การขยายช่องทางการตลาด และการบริหารเงินทุนและรายได้th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผักปลอดสารพิษ--ไทย--นครปฐม--การผลิตth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.titleความต้องการในการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยภายในโรงเรือนของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมth_TH
dc.title.alternativeExtension needs of greenhouse safety vegetable production of the farmers in Mueang District, Nakhon Pathom Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) basic social and economic conditions of the farmers 2) management conditions of safety vegetable production in the greenhouses 3) perception and practice in safety vegetable production in the greenhouses 4) requirement for the extension in safety vegetable production in the greenhouses 5) problems and suggestions about the extension in safety vegetable production management in the greenhouses The population of this research was 112 farmers who were supported with greenhouses in Mueang Nakhon Pathom district, Nakhon Pathom province. Data were collected from the entire population by using interview questions and were then analyzed by using descriptive statistics i.e. frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation and ranking. The results showed that 1) 51.80% of the farmers were male with the average age of 51.76 years. 31.20% of them completed primary education. 83.90% of them produced safety vegetable in the greenhouses because of the advice given by the agricultural extension officers. The average farmland was 3.70 rai. The average cost in producing vegetables safely in the greenhouse was 9,946.43 baht/year. The average number of years of experience in greenhouse safety vegetable production was 3.95 years. Chinese kale was grown in the greenhouse at highest quantity in the year 2020. 2) The average number of labors working in the greenhouses to produce safety vegetables was 1.73 persons. Majority of farmers applied organic fertilizer for soil improvement. They used biopesticides to control plant diseases and insect pests. The average number of crops produced safely in the greenhouses was 5.27 crops/year. 3) Majority of the farmers knew and practiced about growing vegetables safely in the greenhouses in all 8 aspects i.e. water used in the vegetable plots, farm plots, hazardous agricultural chemicals, quality management in production process prior to harvest, harvest and post-harvest, cooling, transportation and storage, personal hygiene and data recording. 4) The farmers required the extension in the content about greenhouse maintenance at the highest level from personal media who were officials. The extension method that the farmers required the most was lecturing with the content about plant production to meet the standards. 5) In the overview, the farmers’ problems were at moderate level. The top issue was about marketing and advertisement. The least problematic issue was the preparation of farmland. The farmers’ suggested about safety vegetable production in the greenhouses in the aspects of production process development, marketing extension, and funding and income managementen_US
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons