กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9509
ชื่อเรื่อง: ความต้องการในการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยภายในโรงเรือนของเกษตรกรในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs of greenhouse safety vegetable production of the farmers in Mueang District, Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชญาภา พงษ์พัว, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ--ไทย--นครปฐม--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน 3) การรับรู้และการปฏิบัติในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน 4) ความต้องการในการส่งเสริมการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการจัดการการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรที่ได้รับการสนับสนุนโรงเรือนปลูกพืช ในอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมจำนวน 12 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 51.80 เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 51.76ปี ร้อยละ 31.20 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 83.90 ผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเพราะเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรแนะนํา มีพื้นที่ทําการเกษตรเฉลี่ย 3.70 ไร่ ต้นทุนในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเหลีย 9,946.43 บาท/ปี มีประสบการณ์การผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเฉลี่ย 3.95 ปี โดยมีการปลูกคะน้าในโรงเรือนมากที่สุด ในปี พ.ศ.2563 2) เกษตรกรมีจํานวนแรงงานในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนเฉลี่ย 1.73 คน ส่วนใหญ่ใส่ปุ๋ยอินทรีย์เพื่อปรับปรุงบำรุงดินใช้ชีวภัณฑ์ในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชและผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรียนเฉลี่ย 5.7 รอบ/ปี 3) เกษตรกรเกือบทั้งหมดมีการรับรู้และปฏิบัติในการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรือนทั้ง 2 ประเด็น ได้แก่ น้ำที่ใช้ในแปลงปลูก พื้นที่ปลูก วัตถุอันตรายทางการเกษตร การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การพักผลิตผล การขนย้ายในแปลงปลูกและการเก็บรักษา สุขลักษณะส่วนบุคคล และการบันทึกข้อมูล 4) เกษตรกรมีความต้องการเนื้อหาในการส่งเสริมอยู่ในระดับมากที่สุด ในเรื่องการบำรุงรักษา โรงเรียนผ่านสื่อบุคคลที่เป็นราชการ และต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากที่สุดจากการบรรยาย ส่วนเนื้อหาที่ต้องการในระดับมากที่สุด คือ เรื่องการผลิตพืชให้ได้มาตรฐาน 5) เกษตรกรมีปัญหาในภาพรวมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นปัญหาอันดับ 1 คือ ปัญหาด้านการตลาด เรื่องการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ส่วนประเด็นปัญหาที่พบในระดับน้อย คือ ปัญหาด้านการเตรียมพื้นที่ปลูก และมีข้อเสนอแนะการส่งเสริมการผลิตพืชผักปลอดภัยในโรงเรียน ได้แก่ ด้านพัฒนากระบวนการผลิต การขยายช่องทางการตลาด และการบริหารเงินทุนและรายได้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9509
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons