Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9518
Title: แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกรในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Extension guidelines of coconut integrated pests management of farmer in Ban Laem District, Phetchaburi Province
Authors: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายพิน ชูจิตร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ต้นมะพร้าว--โรคและศัตรูพืช--ไทย--เพชรบุรี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตมะพร้าวของเกษตรกร 3) การปฏิบัติในการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร และ 5) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร ประชากร ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในพื้นที่อำเภอบ้านแหลม จำนวน 444 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 210 ราย ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการจัดอันดับ 2) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร จำนวน 3 ราย ประธานกลุ่มและคณะกรรมการแปลงใหญ่มะพร้าว จํานวน 7 ราย จัดเก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุเฉลี่ย 60.26 ปี ประสบการณ์ในการปลูกมะพร้าวเฉลี่ย 25.47 มีพื้นที่ทําการเกษตรเฉลี่ย 9.83 ไร่ 2) เกษตรกรส่วนใหญ่มีการปลูกมะพร้าวระยะ 8.5 x 8.5 เมตร ไม่มีการให้น้ำมะพร้าว ใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ย 1 ครั้งต่อปี ไม่มีการลอกเลนขึ้นร่องสวน และพบศัตรูมะพร้าว คือ ด้วงแรด ด้วงงวงมะพร้าว แมลงดำหนาม หนอนหัวดำมะพร้าว ไรสี่ขา กระรอก และหนู 3) เกษตรกรมีวิธีการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับน้อย โดยเกษตรกรมีการใช้วิธีชีววิธี ได้แก่ ใช้ตัวห้ำ ตัวเบียน และวิธีเขตกรรม ได้แก่ การกำจัดแหล่งอาศัยของแมลงสัตว์ศัตรูมะพร้าว 4) ปัญหาในการจัดการศัตรูมะพร้าวของเกษตรกรคือขาดความรู้ ขาดแรงงาน ขาดเงินทุน และเครื่องมือในการจัดการศัตรูมะพร้าว 5) ต้องการการส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่รัฐโดยวิธีการสาธิตฝึกปฏิบัติ แนวทางการส่งเสริม (1) ส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการจัดการศัตรูมะพร้าวโดยวิธีผสมผสาน (2) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มเกษตรกรเพื่อผลิตแตนเบียน (3) จัดทำแปลงพยากรณ์เฝ้าระวังการระบาดศัตรูมะพร้าว และ (4) จัดตั้งเครือข่ายศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9518
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.59 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons