Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9521
Title: การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Other Titles: Utilization of bio-technology substance for soil improvement by fruit farmers in Klaeng District Area of Rayong Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐวุฒิ กุลแก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
การปรับปรุงดิน--ไทย--ระยอง
เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน 3) การส่งเสริมผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินแก่เกษตรกร 4) การใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน ประชากรในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลในพื้นที่อำเภอแกลง จังหวัดระยอง จํานวน 143 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด โดยไม่มีการสุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 54.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 42.39 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา รายได้เฉลี่ย 206,110.28 บาท/ปี ผลผลิตไม้ผลในปีที่ผ่านมา เฉลี่ย 12.10 ต้น พื้นที่ปลูกไม้ผล เฉลี่ย 38.71 ไร่ และพื้นที่ใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินเฉลี่ย 15.95 ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 55.9 มีความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน อยู่ในระดับมาก รองลงมาร้อยละ 32.9 มีความรู้ระดับน้อย และร้อยละ 11.2 มีความรู้ระดับปานกลาง 3) การส่งเสริมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน เกษตรกรร้อยละ 62.2 ได้รับข่าวสารจากผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน และหมอดินอาสา และร้อยละ 58.0 ติดต่อกับเจ้าหน้าที่การเกษตรจากหน่วยงานภาครัฐมากกว่า 4 ครั้งต่อปี 4) เกษตรกร ร้อยละ 40.6 มีการใช้ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดินในระดับมาก รองลงมา ร้อยละ 36.4 มีการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ระดับน้อย และร้อยละ 23.1 มีการใช้ผลิตภัณฑ์ฯ ระดับปานกลาง และ 5) ประมาณกึ่งหนึ่งของเกษตรกรมีปัญหาได้แก่ ไม่มีอุปกรณ์และวัตถุดิบเกี่ยวกับการทำผลิตภัณฑ์ชีวภาพเพื่อการปรับปรุงบำรุงดิน และไม่ทราบว่าจะหาผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงปารุงดินของกรมพัฒนาที่ดินได้จากที่ใด โดยให้ข้อเสนอแนะว่า ควรส่งเสริมและสนับสนุนในการนำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาทำวัสดุปรับปรุงบำรุงดินและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับแหล่งจําหน่ายผลิตภัณฑ์
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9521
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons