กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9524
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน ตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting emergency medical service operations according to the new normal standards in Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิตยา เพ็ญศิรินภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอกพล กาละดี, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกรียงศักดิ์ ปินตาธรรม, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์
บริการเวชศาสตร์ฉุกเฉิน--ไทย--เชียงราย--มาตรฐาน.
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ (2) ปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงานและปัจจัยด้านองค์การ (3) อิทธิพลของปัจจัยด้านบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน และปัจจัยด้านองค์การ ต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินฯ และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในมุมมองของผู้ปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินฯ ในจังหวัดเชียงราย การวิจัยเป็นแบบสำรวจเชิงวิเคราะห์ ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ปฏิบัติงานในระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดเชียงราย จำนวน 2,504 คน กลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ 300 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามประเภทของผู้ปฏิบัติงาน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามความเที่ยงระหว่าง 0.70-0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย อยู่ในระดับปฏิบัติทุกครั้ง (2) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จบการศึกษาปริญญาตรี ตำแหน่งอาสาสมัครปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ สังกัดโรงพยาบาล ทํางานหน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินระดับพื้นฐาน ค่ามัธยฐานของอายุ 30 ปี ประสบการณ์การทํางาน 5 ปี ภาระงาน 50 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนปัจจัยด้านองค์การ ได้แก่ การวางแผนองค์การ การจัดการองค์การ การจัดการด้านบุคลากร การควบคุมสั่งการ การประสานงาน การรายงานการจัดการงบประมาณ การสนับสนุนการสื่อสารและการจัดการสารสนเทศ อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ ในจังหวัดเชียงราย มี 8 ตัวแปร เรียงจากอิทธิพลเชิงบวกจากมากไปน้อย ได้แก่ ความสามารถและทักษะในการดูแลผู้ป่วย ปัจจัยองค์การด้านการวางแผนองค์การด้านการรายงาน ด้านการจัดการ ด้านสารสนเทศ ด้านการสนับสนุน ด้านการสื่อสาร และปัจจัยส่วนบุคคลเพศหญิง ตามลำดับ ส่วนปัจจัยองค์การด้านการจัดการงบประมาณมีอิทธิพลเชิงลบ โดยร่วมกันทำนายคะแนนการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินตามมาตรฐานความปรกติใหม่ได้ ร้อยละ 65.6 และ (4) ปัญหาในมุมมองของผู้ปฏิบัติที่สําคัญ คือ ขาดการสนับสนุนที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานและการเข้าไม่ถึงการอบรม จึงเสนอแนะให้องค์การสนับสนุนอุปกรณ์ที่จําเป็นให้เพียงพอ และกระจายการอบรมให้ทั่วถึง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9524
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Health-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.25 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons