กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/956
ชื่อเรื่อง: บทบาทกลุ่มผลประโยชน์ต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร : ศึกษากรณีเขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The roles of interest groups in the election of Bangkok Metropolitan Council Members : a case study of Chatuchak District, Bangkok Metropolis, B.E. 2550
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข
ฉัตรชัย รัตนเขียว, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ฐปนรรต พรหมอินทร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
สมาชิกสภากรุงเทพมหานคร -- การเลือกตั้ง
กลุ่มอิทธิพล
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บทบาทของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ ที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 (2) ลักษณะความสัมพันธ์ของกลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการที่มีต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2550 การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมี จำนวน 6 กลุ่ม ๆ ละ 2 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มสมาชิกพรรคการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มผู้นำชุมชนหรีอผู้นำในท้องถิ่นกลุ่มผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร เขตจตุจักร และกลุ่มสื่อสารมวลชน เครื่องมือวิจัยประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์แบบเก็บข้อมูลจากเอกสาร และแบบบันทึกจากการสังเกตแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่มมีบทบาทต่อการสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งมากซึ่งประกอบด้วย กลุ่มสมาชิกพรรคการเมือง กลุ่มนักธุรกิจ กลุ่มข้าราชการ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร และกลุ่มสื่อสารมวลชน มีบทบาทในการช่วยประชาสัมพันธ์ผู้สมัครรับเลึอกตั้ง การรณรงค์หาเสึยงก่อนการเลึอกตั้งและแสดงออกหลังจากการเลือกตั้งผ่าน เช่น การดำเนินกิจกรรมที่ได้ประกาศไว้การติดตามตรวจสอบแนวนโยบาย เป็นต้น (2) กลุ่มผลประโยชน์ทุกกลุ่มมีลักษณะความสัมพันธ์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนี้แบบทางการคือกลุ่มผลประโยชน์เข้ามามีบทบาทในสังคมอย่างเปิดเผยและเป็นไปตามกฎหมาย เช่น กลุ่มผู้สมัครสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร มีบทบาทสำคัญในการแถลงนโยบายเพื่อแสดงออกถึงอุดมการณ์ทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเป็นสำคญ กลุ่มสื่อมวลชนมีบทบาทให้ความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์ ข้อมูลการเลึอกตั้งเพื่อให้ประชาชนรับทราบข้อมูลต่างๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจ สำหรับข้าราชการถือได้ว่าเป็นกลุ่มที่มีบทบาทตามกฎหมายโดยตรงที่ต้องจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม ส่วนผู้นำชุมชนมีบทบาทต่อการเลือกตั้งในฐานะผู้นำและมีส่วนสำคญต่อการทำกิจกรรมในชุมชน และ ส่งเสริมสนับสนุนการเลือกตั้ง โดยการประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนทราบทั้งในรูปแบบการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์หรึอโนัมน้าวในรูปแบบต่าง ๆ แบบไม่เป็นทางการ คือกลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทในสังคมเชิงสัญลักษณ์หรึอโดยอ้อม เช่น กลุ่มสมาชิกพรรคการเมืองจะแสดงบทบาทในรูปของการเข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชน กลุ่มนักธุรกิจแสดงบทบาทแทรกแซงทางการเมืองผ่านระบบอุปถัมภ์ โดยวิธีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์กับกลุ่มผู้สมัครอย่างไม่เปิดIผยกลุ่มสื่อสารมวลชนมีบทบาทในการผลักดันให้ผู้สมัครได้รับการเลือกตั้งหรือไม่ได้รับการเลือกตั้งผ่านการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ส่วนข้าราชการถึงแม้จะต้องระมัดระวังในเรื่องการวางตัวแต่ก็มีบทบาทเอนเอียง สนับสนุนกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่นที่ตนมีส่วนได้เสีย เช่น การเพิกเฉยต่อข้อร้องเรียนการกระทำผิดกฎหมายการเลือกตั้ง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/956
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib119014.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons