กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9571
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อระดับความผูกพันของบุคลากรกรณีศึกษา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Motivational factors that affect the relationship of the staffs Faculty of Science Mahidol University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดลพร บุญพารอด
ทินภัทร ศรีคะชินทร์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะวิทยาศาสตร์
ความผูกพัน
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1)ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (2) ระดับความผูกพันของบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (3) ความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อระดับความผูกพันของบุคลากรกับ ระดับความผูกพันของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (4) ระดับความผูกพันของ บุคลากรจำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 188 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบทดสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าองค์การให้ความสำคัญเกี่ยวกับ ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความเห็นว่าองค์การให้ ความสำคัญเกี่ยวกับปัจจัยจูงใจด้านนโยบายองค์การมากที่สุด รองลงมาคือปัจจัยจูงใจด้าน โครงสร้างองค์การ ปัจจัยจูงใจด้านแรงจูงใจ(ค่าตอบแทนและสวัสดิการ)และสุดท้ายคือปัจจัยจูงใจ ด้านการมีส่วนร่วมและตระหนักถึงคุณค่า (2) กลุ่มตัวอย่างมีระดับความผูกพัน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความผูกพันกับหน่วยงานมากที่สุด รองลงมาคือความผูกพันในงาน ความผูกพันกับองค์การ ความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานและสุดท้ายคือความผูกพันกับหัวหน้างาน (3) ปัจจัยจูงใจ ด้านนโยบาย องค์การ ด้านโครงสร้างองค์การ มีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับต่ำ ปัจจัยจูงใจด้านแรงจูงใจ (ค่าตอบแทนและสวัสดิการ) ด้านการมีส่วนร่วม และตระหนักถึงคุณค่า มีความสัมพันธ์กับระดับความผูกพันของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในระดับปานกลาง (4) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่มีผลต่อระดับความผูกพัน ของบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รายได้ต่อเดือนและระยะเวลาทำงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9571
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
134128.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons