Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9580
Title: พฤติกรรมการออมของพนักงาน บริษัท ฮีโน่มอเตอร์สแมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
Other Titles: Saving behavior of employees of Hino Motors Manufacturing (Thailand) Co., Ltd.(Thailand) Company Limited
Authors: อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชญ์ธนัท เลิศคำ, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การประหยัดและการออม--ไทย
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (2) พฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด (3)ความสัมพันธ์ระหว่างปังจับส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการออมของพนักงานบริษัท ฮีโน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอรึ่ง (ประเทศไทย) จำกัด การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจประชากร คือ พนักงานบริษัท โน่ มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 3,843 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างตามวิธีของยามาเน่ได้จำนวน 363 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม บริษัท ฮีโน่มอเตอร์ส แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุต่ำกว่า 30 ปี สถานภาพโสด มีสมาชิกครอบครัวในความรับผิดชอบตั้งแต่ 4 คนขึ้นไป จบการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีทำงานในตำแหน่งพนักงานสายการผลิต มีประสบการณ์ในการทำงานต่ำกว่า 5 ปี รายได้รวมเฉลี่ยต่อเดือน 20,001 - 30,000 บาท รายจำยรวมเฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 20,000 บาท และภาระหนี้สินต่อเดือนเพื่อซื้อยานพาหนะ อยู่ระหว่าง 10,001 - 15,000 บาท เลือกรูปแบบการออมจากอัตราผลตอบแทนซึ่งได้รับข่าวสารการออมจากอินเตอร์เน็ต (2) พนักงานส่วนใหญ่ออมเพื่อเป็นเงินทุนในอนาคต โดยออมเฉลี่ยต่อเดือน 2,001 - 4,000 บาท ซึ่งเป็นการออมระยะปานกลาง คือ 1 - 5 ปี ใช้วิธีฝากเงินกับสถาบันการเงิน ซื้อทองคำ และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามลำดับ (3) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และรายได้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออมของพนักงานในทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9580
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_151399.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.2 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons