กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/958
ชื่อเรื่อง: ประเพณีและความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วงขวบปีแรกของชาวมอญ ชุมชนหมู่บ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Traditions and beliefs in raining a baby during its first year time of the Mon Bangkradi Village Community, Bang Khun Thian District, Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปรียา หิรัญประดิษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
บำรุง คำเอก, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุปราณี สีนวลน้อย, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
เด็ก--การเลี้ยงดู
ความเชื่อ
มอญ--ความเป็นอยู่และประเพณี.--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประเพณีและความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วง ขวบปีแรกของชาวมอญ และ (2) การเปลี่ยนแปลงประเพณี และความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วงขวบปี แรกของชาวมอญที่อาศัยอยู่ในชุมชนหมู่บ้านบางกระดี่ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างเป็น เครื่องมือในการวิจัย เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 15 คน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ประเพณีและความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วงขวบปีแรกของชาวมอญ ชุมชนหมู่บ้านบางกระดี่ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ประเภทแรก คือ ประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับ การตั้งครรภ์ ประเภทที่สองคือ ประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับการคลอดบุตร และประเภทที่สาม คือ ประเพณีและความเชื่อเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็ก ประเพณีทั้ง 3 ประเภทนี้ชาวมอญปฎิบัติตาม เพื่อให้มารดาและทารกมีความปลอดภัย รอดพ้นจากอันตราย และมีสุขภาพแข็งแรง จากการ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงประเพณีและความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วงขวบปีแรกของชาวมอญ ชุมชนหมู่บ้านบางกระดี่ พบว่าประเพณีและความเชื่อในการเลี้ยงเด็กช่วงขวบปีแรกบางประเพณี ยังคงรูปแบบเดิม และบางประเพณีมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เอื้อด่อการดำรงชีวิตในปัจจุบัน สำหรับ การเปลี่ยนแปลงเกิดจากปัจจัยทั้งภายในชุมชนและภายนอกชุมชน ชื่งปัจจัยภายในชุมชนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางด้านสมาชิกในชุมชน การผสมกลมกลืนทางด้านวัฒนธรรม และการได้รับ การศึกษา ส่วนปัจจัยภายนอกชุมชนได้แก่ การเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน อิทธิพลจาก สื่อสารมวลชน และความกัาวหน้าทางด้านเทคโนโลยี
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/958
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (13).pdfเอกสารฉบับเต็ม4.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons