Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9605
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorจรัสศรี จิระประวัติตระกูล-
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-18T07:48:25Z-
dc.date.available2023-09-18T07:48:25Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9605-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 (2) ศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการ ปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นที่มีต่อปัจจัยที่ ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรและข้าราชการตำรวจชั้นประทวน (4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 (5) เสนอแนะแนวทางลดความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ประชากรสำหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้าราชการตำรวจทั้งหมดที่สังกัดกองบังคับการตำรวจ นครบาล 7 จำนวน 1,738 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 326 คน โดยการใช้สูตรของทาโร ยามาเน่ ที่ ระดับความเชื่อมันร้อยละ 95 ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และการวิเคราะห์การ ถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความเครียดของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 ในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย (2) ปัจจัยทุกด้าน คือ ด้านลักษณะงาน ด้านการดำเนินชีวิต ด้านการบริหารงาน ด้าน บรรยากาศในองค์การ ด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน และด้านความสำเร็จในการทำงาน มีผลต่อความเครียดในการ ปฏิบัติงานในระดับปานกลาง (3) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ตำรวจชั้นสัญญาบัตรและข้าราชการตำรวจชั้นประทวน พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารงาน ด้านบรรยากาศใน องค์การ ด้านสัมพันธภาพในที่ทำงาน และด้านความสำเร็จในการทำงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้านลักษณะงาน และด้านการดำเนินชีวิต ไม่มีความแตกต่างกัน และข้าราชการ ตำรวจชั้นสัญญาบัตรมีความเครียดกว่าชั้นประทวน (4) ปัจจัยด้านการดำเนินชีวิตส่งผลต่อความเครียดของ ข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยด้าน อื่นๆ ไม่ส่งผลต่อความเครียด (5) ข้อเสนอแนะ ได้แก่ควรจัดสรรเบี้ยเลี้ยงในการทำงานเพิ่ม ควรมีการร่วมกัน ประชุมปรึกษาหารือบ่อยๆ เพื่อสร้างความสัมพันธ์และลดความเครียด จัดหาความวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความ สะดวกในการทำงานให้เหมาะสม และการแบ่งภาระงานที่ได้รับผิดชอบอย่างยุติธรรมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectตำรวจ--ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 7th_TH
dc.title.alternativeFactors affecting work stress of police officers of the Metropolitan Police Division 7th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: (1) study level of working stress of police officers of the Metropolitan Police Division 7; (2) study opinions concerning factors affecting the work stress of Police Officers at the Metropolitan Police Division 7; (3) compare working factors affecting the work stress between commissioned officers and non-commissioned officers; (4) study factors affecting the work stress of police officers of the Metropolitan Police Division 7; and (5) recommend guidelines to reduce the work stress of police officers of the Metropolitan Police Division 7. Population was 1,738 police officers of the Metropolitan Police Division 7. Samples were 326officers calculated via Taro Yamane formula at level of validity of 95% and employed proportional stratified random sampling. The instruments used for data collecting were questionnaires. The statistical analysis employed frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and multiple regression. Research results revealed that: (1) an overview of stress level of police officers was at low level; (2) all factors namely job type, way of life, administration, organizational atmosphere, relationship and career achievement affected the work stress at medium level; (3) comparison of factors affecting the work stress between commissioned officers and non-commissioned officers, it was found that factors regarding administration, organizational atmosphere, relationship and career achievement were different at statistical level of significant of 0.05 whereas factors regarding job type, and way of life were not different. The stress of commissioned officers was higher than non-commissioned officers; (4) way of life factor affected the work stress of police officers of the Metropolitan Police Division 7 at level of significance of 0 .0 5. Other factors did not affect the stress; and (5) recommendations were that working allowances should be increased, the organization should arrange frequent meeting to build better relationship and help reducing stress, facilities and materials related to works should be provided to police officers adequately and all tasks should be delegated equally among the colleaguesen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145919.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons