กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9610
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบทเรียนด้วยคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายวิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิกเรื่อง โครงสร้างคำสั่งสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชลธิต ขุนดำ, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
การเขียนโปรแกรม (คอมพิวเตอร์)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่อง โครงสร้างคำสั่งให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด (2) ศึกษาความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่อง โครงสร้างคำสั่ง และ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่อง โครงสร้างคำสั่ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับประกาศนืยบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราชจำนวน 21 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่มโดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่าน เครือข่ายวิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่อง โครงสร้างคำสั่ง (2) แบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียนแบบคู่ขนาน และ (3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่องโครงสร้างคำสั่งมีประสิทธิภาพ คือ 80.27/80.95 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) นักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่ายวิชาการเขียน โปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่องโครงสร้างคำสั่งมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) นักเรียนมีความคิดเห็นว่าบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเครือข่าย วิชาการเขียนโปรแกรมติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก เรื่อง โครงสร้างคำสั่งโดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159946.pdf20.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons