กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9612
ชื่อเรื่อง: ความต้องการศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ของผู้บริหารและครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for science learning center of administrators and teachers in the secondary education service area 20
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ช่อไม้ เวียงพล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
ศูนย์การเรียน--วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์--การศึกษาและการสอน
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ของ ผู้บริหาร และครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีเขต 20 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยบุคคลากรโรงเรียนจำนวน 316 คน จำแนกเป็น ผู้บริหารจำนวน 63 คน และครูจำนวน 253 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 จังหวัดอุดรธานี ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร และครูในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20 จังหวัดอุดรธานี มีความต้องการศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ โดยภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ (1) เนื้อหาสาระ คือ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและเทคโนโลยี (2) ห้องเรียนในศูนย์การเรียน คือห้องทดสอบเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (3) วัตถุประสงค์ของห้องวิทยาศาสตร์ ชีวภาพ คือ ให้นักเรียนได้ปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง และวัตถุประสงค์ของห้องสร้างนวัตกรรม และโครงงานวิทยาศาสตร์ คือ ให้นักเรียนสามารถจัดทำนวัตกรรม และโครงงานวิทยาศาสตร์ได้ (4) กิจกรรมในศูนย์การเรียน ได้แก่ กิจกรรมเสนอนวัตกรรม และโครงงานวิทยาศาสตร์ (5) ระเบียบเกี่ยวกับการยืมคืนคือจำนวนสื่อที่ให้ยืมครั้งละไม่เกิน 3 ชิ้น ช่วงเวลาเปิดบริการ คือ วันจันทร์ ถึงวันเสาร์ เวลา 08.00-16.00 น. วิธีการยืม/จองสื่อผ่านระบบอินเทอร์เน็ต กำหนดการยืม/คืน จำนวนไม่เกิน 3 วัน (6) การประเมินผลการเรียน คือ ประเมินผลการเรียน 8 ระดับ (7) สถานที่จัดตั้งศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ คือโรงเรียนประจำอำเภอ (8) เจ้าหน้าที่ของศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ คือ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ (9) สิ่งอำนวยความสะดวกภายในศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และเครื่องพิมพ์ (10) ประโยชน์ของศูนย์การเรียนวิทยาศาสตร์ที่มีต่อนักเรียน คือ นักเรียนสามารถตัดสินใจ และแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีเหตุผล
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9612
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
132458.pdf12.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons