กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9615
ชื่อเรื่อง: | กลยุทธ์การวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพและความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ณ ปัจจุบันของพนักงานบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย : กรณีศึกษาบริษัทในเครือ บริดจสโตน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Career path development planning strategies and satisfaction toward current career path of the employees in Japanese companies in Thailand : a case study of Bridgestone Group |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กิ่งพร ทองใบ ธวัช ดลขุนทด, 2512- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การพัฒนาอาชีพ บริษัทในเครือบริดจสโตน--พนักงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2553 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับการตระหนักรับรู้กลยุทธ์การวาง แผนการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานระดับต่างๆ ของบริษัทในเครือบริดจสโตนในประเทศไทย(2)ระดับความพึงพอใจที่มีต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานระดับต่างๆของ บริษัท ในเครือบริดจสโตน ในประเทศไทย (3) ความสัมพันธ์ของกลลุทธ์การวางแผนการพัฒนา ความก้าวหน้าในสายอาชีพที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ณ ปัจจุบันของพนักงานระดับต่างๆของ บริษัทในเครือ บริดจสโตน ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานคนไทย ในระดับต่างๆของกลุ่มบริษัทบริดจสไตน ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมด 9 บริษัท บริษัทละ 30 คน ทั้งหมด 270 คน และเน้นเฉพาะ พนักงานที่มีประสบการณ์การทำงานที่บริษัทนั้นๆ มากกว่า 1 ปีขี้นไป เครื่องมือที่ใซ้ในการเก็บรวบรวม ซัอมูลคือแบบสอบถามกลยุทธ์การวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพและความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ณ ปัจจุบันโดยได้รับแบบสอบถามกลับมาทั้งสิ้น 161 คน ความคลาดเคลื่อน ในการเลือกตัวอย่างเท่ากับ 7% การริเคราะห์และประมวลผล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ซัอมูล ได้แก่ ค่ารัอยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการริเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับการตระหนักรับรู้กลยุทธ์การวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้า ในสายอาชีพของพนักงานระดับต่างๆของ บริษัท ในเครือบริดจสโตน ในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง (2) ความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ณ บัจจุบันของพนักงานระดับต่างๆของบริษัทใน เครือบริดจสโตนในประเทศไทยอยู่ในระดับปานกลาง (3) ความสัมพันธ์ของกลยูทธ์การวางแผนพัฒนา ความก้าวหน้าในสายอาชีพและความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ ณ ปัจจุบันด้านความมั่นใจ ในการเจริญเติบโตในหน้าที่การงาน ความความเช้าใจในกลยุทธ์แผนพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของ บริษัท และทัศนคติต่อกลยุทธ์การวางแผนการพัฒนาความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงาน มี ความสัมพันธ์ในทางบวกและอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงกับความพึงพอใจต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพณ ป้จจุบัน โดยมีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9615 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
123503.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.25 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License