กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9639
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์ของพนักงานบริษัท นันยางเท็กซ์ไทล์ จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationships between quality of working life and labor relation's effectiveness in Nan Yang Textile Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พิชัย สุวรรณทอง, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
แรงงานสัมพันธ์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัดถุประสงค์เพื่อศึกษา (I) ลักยณะส่วนบุคคลของพนักงานบริษัท นันยางเท็กซ์ไทล์ จำกัด (2 ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน (3 ระดับประสิทธิผลค้านแรงงานสัมพันธ์ของพนักงาน (4) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานกับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรคือพนักงานบริษัท นันยางเท็กซ์ไทล์ จำกัด มีพนักงานทั้งหมด 652 คน กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 268 คน ที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ ใช้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่สถิติสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาหรือเชื้อชาติ นอกพื้นที่บริษัทตั้งอยู่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในกลุ่มอายุ 31-45 มีระดับการศึกษาระดับ ม.ปลาย - ปวช. มีสถานภาพแต่งงานและอยู่ร่วมกัน มีสถานะมีบุตรจำนวน 1 คน มีลักษณะงานเป็นงานด้านการผลิต ระดับปฏิบัติการ เข้าสมัครงานกับบริษัทผ่านช่องการแนะนำของเพื่อน/ญาติพี่น้อง/คนรู้จัก มีสถานภาพการจ้างงาน เป็นพนักงานราขวัน มีอายุงานหรือระยะเวลาที่พนักงานทำงานในองค์การตั้งแต่ 6 ปี ขึ้นไป มีรายได้ต่อเดือนตั้งแต่10,000 - 20,000 บาทต่อเดือน (2) ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงจากมากไปน้อย พบว่า ด้านความภาคภูมิใจในองค์การ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการมีระบบที่ดีมีความยุติธรรม (3) ระดับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์ของพนักงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านโดยเรียงจากมากไปน้อย พบว่าด้านความตั้งใจลาออก มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการขาดงาน (4) คุณภาพชีวิตในการทำงานมีระดับความสัมพันธ์มากกับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์ เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าคุณภาพชีวิตในการทำงานค้านการมีภาระอิสระจากงานมีความสัมพันธ์มากที่สุดกับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์ในด้านความตั้งใจลาออกของพนักงาน และรองลงมาคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความภาคภูมิใจในองค์การมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลด้านแรงงานสัมพันธ์ในด้านการขาคงานของพนักงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9639
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_148763.pdf12.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons