Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9647
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน สำนักงานพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี
Other Titles: Factors influencing performance efficiency of employees at Chiang Mai Night Safari
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรทัย อินต๊ะยศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี--การทำงาน
ประสิทธิผลองค์การ
ประสิทธิภาพ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การทำงาน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านการจัดการ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานสํานักงานพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านบุคคลและปัจจัยด้านการจัดการกับประสิทธิภาพการทํางาน ของพนักงานสํานักงานพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้าง ประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานสํานักงานพื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานสํานักงาน พื้นที่พิเศษเชียงใหม่ไนท์ซาฟารี จํานวน 202คน โดยใช้ประชากรทั้งหมดทําการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามโดยมีค่าความเชื่อมันเท่ากับ 0.936 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที การวิเคราะห์ ความแปรปรวน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศชาย สถานภาพโสด มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี มีประสบการณ์การทํางานมากกว่า 6 ปี มีระดับรายได้ตํ่ากว่า 10,000 บาท มีระดับตําแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับต้น และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยด้านการจัดการที่ มีผลต่อประสิทธิภาพการทํางานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลําดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านกลยุทธ์ด้านค่านิยมร่วม ด้านโครงสร้าง ด้านระบบการทํางาน ด้านทักษะ ด้านรูปแบบการบริหาร และด้านบุคลากร (2) พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส ประสบการณ์การทํางาน ระดับ รายได้ และระดับตําแหน่งแตกต่างกัน มีประสิทธิภาพการทํางานไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยด้านการจัดการ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทํางานของพนักงานอยู่ ในระดับ ปานกลาง (r =.515) ในทิศทางเดียวกัน (3) ผู้บริหารควรให้ความสําคัญในปัจจัยที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานทุกด้าน เน้นการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ส่งเสริมให้พนักงานมีโอกาสพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงาน และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานใน องค์การ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9647
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
146032.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.88 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons