Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9656
Title: คุณภาพชีวิตของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ ปี 2554 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบ้านนาเดิม
Other Titles: Quality of life of Bank for Agriculture and Agricultural Cooperative's Customers Participating Moratorium Project in the Year 2554, Bannaderm Branch
Authors: จีราภรณ์ สุธัมมสภา, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธราธร อภิชนังกูร, 2507-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการพักชำระหนี้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ.
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับคุณภาพชีวิตของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการ พักชำระหนี้ปี 2554 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบ้านนาเดิม และ (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของของลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ปี 2554 จำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา รายได้ต่อปี จำนวนสมาชิกในครัวเรือนและเงินที่ออมได้ต่อปี ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ปี 2554 ของ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาบ้านนาเดิมจำนวน 190 ราย โดยศึกษาจากประชากร ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยประชากร และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า (1) ลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ปี 2554 ของธนาคาร เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาบ้านนาเดิม มีระดับคุณภาพชีวิตทุกด้านอยู่ในระดับปานกลางโดยเรียงลำดับคุณภาพชีวิตจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านสุขภาพ ด้านที่อยู่อาศัยและเงื่อนไขการดำรงชีวิต ด้านการศึกษา ด้านรายได้ ด้านชีวิตครอบครัวและชีวิตในชุมชน ด้านการคมนาคมและการสื่อสาร ด้านการมีส่วนร่วม และด้านการมีงานทำ (2) ลูกค้าที่เข้าร่วมโครงการพักชำระหนี้ปี 2554 ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรสาขาบ้านนาเดิม เพศหญิงมีระดับคุณภาพ ชีวิตสูงกว่าเพศชาย ระดับอายุ 20-30ปีมีคุณภาพชีวิตสูงกว่าทุกระดับอายุ สถานภาพการสมรสโสด มีคุณภาพชีวิตสูงกว่าสถานภาพสมรส หย่าร้างและหม้าย ระดับการศึกษาปริญญาตรีมีคุณภาพชีวิต สูงกว่าทุกระดับการศึกษาในระดับที่ต่ำกว่า รายได้ต่อปี 300,001-400,000 บาทมีคุณภาพชีวิตสูงกว่า รายได้ต่อปีที่น้อยกว่า ในขณะที่ลูกค้าที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือน 6-10 คนหรือมากกว่า มีระดับ คุณภาพชีวิตสูงกว่าลูกค่าที่มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่น้อยกว่า และลูกค้าที่มีจำนวนเงินที่ออมได้ต่อปีมากกว่า 20,000 บาทขึ้นไปมีระดับคุณภาพชีวิตสูงกว่าลูกค้าที่มีจำนวนเงินที่ออมได้ต่อปีที่น้อยกว่า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9656
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
134106.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons