กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9666
ชื่อเรื่อง: ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organizational commitment of employees of Phanakhon Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนัญชนก ชื่นเชื่อม, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผูกพันต่อองค์การ
ความภักดีของลูกจ้าง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฎพระ นคร จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร จำนวน 821 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 269 คน สุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามซึ่งมีคำความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.979 สถิติที่ใข้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คำเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การ ทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่าง นัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความผูกพันอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านความเต็มใจและทุ่มเทในการทำงานเพื่อองค์การ รองลงมาคือด้านความภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ ด้านความศรัทธาและการยอมรับในเป้าหมายและคุณค่าขององค์การส่วนความผูกพันที่อยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ด้านความต้องการที่จะดำรงความเป็นสมาชิกภาพขององค์การ (2) บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครที่มีเพศอายุ สถานภาพทางการสมรสระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาปฏิบัติราชการที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนบุคลากรที่มีตำแหน่งที่แตกต่างกันมีความผูกพันต่อองค์การไม่ แตกต่างกัน (3) แนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์การ ผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้บุคลากร พัฒนาศักยภาพให้สูงขึ้นโดยการส่งไปอบรม ดูงาน บุคลากรควรมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและ เป้าหมายขององค์การ ระบบการพิจารณาความดี ความชอบ การให้รางวัลผลตอบแทน และที่สำคัญคือการ ให้โอกาสที่บุคลากรได้รับการเลื่อนขั้นและตำแหน่งที่มีความก้าวหน้ายิ่งขึ้น ควรส่งเสริมและสนับสนุน บุคลากรที่ทำผลงานได้ดี ทำให้บุคลากรมีความตระหนักถึงความเป็นส่วนหนึ่งขององค์การ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
137208.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons