Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9694
Title: | ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการการผลิตลองกองของเกษตรกร ในอำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส |
Other Titles: | Factors affecting Longkong production management for the farmers in Sungai-kolok District, Narathiwat Province |
Authors: | รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา ดิเรก ทองอร่าม, อาจารย์ที่ปรึกษา วินัย ปลัดสงคราม, 2492- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เกษตรกร--ไทย--นราธิวาส ลองกอง--การผลิต |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อศึกษา ปัจจัยทิ่มีผลต่อประสิทธิภาพ การผลิตลองกองของเกษตรกร ใน อำเภอสุไหงโก-ลก วังหวัดนราธิวาส ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นชาย อายุระหว่าง 41 - 60 ปี นับถือศาสนาอิสลาม จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครัวเรือนระหว่าง 5 - 8 ราย รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือน84,022.31 บาทต่อปี ผลผลิตในปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 140.85 กิโลกรัมต่อไร่ ส่วนใหญ่ใช้เงินทุนของตนเองในการผลิตลองกองในด้านการผลิตลองกอง พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีประสิทธิภาพในการผลิดลองกองอยู่ในระดับปานกลาง คือมีการปฏิบัติถูกต้องในด้านการใส่ปุ๋ย การใช้ร่มเงา การดัดแต่งกิ่ง การป้องกันและกำจัดแมลงสัตว์ลองกอง และการป้องกันและกำจัดสัตว์ศัตรูลองกอง ส่วนการปฏิบัติที่ใม่ถูกต้อง คือ การใช้ขนาดหลุมปลูก การป้องกันและกำจัดโรคลองกอง และการจัดระบบการให้นำที่ไม่ถูกต้อง เกษตรกรกลุ่มที่ปลูกลองกองในพื้นที่มากกว่า 3 ไร่ มีความแดกต่างกับเกษตรกรที่ปลูกลองกองในพื้นที่ไม่เกิน 3 ไร่ ในบางประการ ได้แก่ รายได้ของครัวเรือน ประสิทธิภาพการผลิต ปัญหาการจัดการการผลิตปัญหาการคลาดและการขนส่ง และปัญหาด้านสภาพแวดล้อม เมื่อศึกษาตัวแปรที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์หรือขึ้นอยู่กับการพื้นที่ปลูกลองกองมากกว่า 3 ไร่ หรือไม่เกิน 3 ไร่ ของเกษตรกร พบว่าตัวแปรที่สำด้ญคือ วิธีการจำหน่ายผลผลิต สภาพการผลิต เช่น ระยะปลูก ขนาดของหลุมปลูก การป้องกันและกำจัดศัตรูลองกอง การรับบริการส่งเสริมและข้อมูลข่าวสาร เช่น การเข้าร่วมชมนิทรรศการและการสาธิต การรับข่าวสารจากวิทชุกระจายเสิยง และตัวแปรด้านความต้องการเทคโนโลยีในการจัดการการผลิตลองกองการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตลองกองของเกษตรกร พบว่าปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำกัญทางสกิติกับประสิทธิภาพในการผลิตได้แก่ การมีปัญหาด้านการจัดการการผลิต ปัญหาการจัดการหลังเก็บเกี่ยว ปัญหาการกัดคุณภาพลองกอง และความต้องการการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการจัดการการผลิตลองกอง |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9694 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License