กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/970
ชื่อเรื่อง: สถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง : กรณีศึกษาบ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The status and role of Hmong Females : a case study of the Kheknoi Village in the Kheknoi Sub-District of the Khaokho District in Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิตรา วีรบุรีนนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพฑูรย์ มีกุศล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สกุณา กวินยั่งยืน, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
ม้ง--ภาวะสังคม
ม้ง--ไทย
สถานภาพทางสังคม
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความเป็นมาของสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง บ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบันที่มีต่อสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง บ้านเข็กน้อย ตำบลเข็กน้อย อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ (3) เพื่อหาแนวทางในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ ชาวม้งบ้านเข็กน้อย จำนวน 290 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ กลุ่มผู้นำชาวม้งบ้านเข็กน้อย จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพคือ แบบสัมภาษณ์เจาะลึก และแบบสำรวจขุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าร้อยละและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า (1) จากประเพณีวัฒนธรรมของชาวม้งในเรื่องการสืบทอดตระกูลทางฝ่ายชาย และสังคมชาวม้งที่มีลักษณะ "สังคมชายเป็นใหญ่" ทำให้ผู้หญิงมีสถานภาพและบทบาทด้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งสามารถแบ่งสถานภาพและบทบาทหญิงชาวม้งบ้านเข็กน้อย ได้ 3 ยุค คือ 1. ยุคเริ่มแรกการตั้งถิ่นฐานบ้านเข็กน้อย (พ.ศ. 2488-2510) หญิงชาวม้งมีสถานภาพที่ต่ำกว่าชายทุกด้าน และมีบทบาทสำคัญคือ การทำงานบ้านกับงานในไร่ โดยแทบไม่มีบทบาททางสังคมเลย 2. ยุคการรับอิทธิพลจากสังคมภายนอก (พ.ศ. 2510-2525) สถานภาพของหญิงชาวม้งในยุคนี้ยังต่ำกว่าชาย แต่หลังจากที่ได้รับอิทธิพลจากนโยบายของรัฐบาล และปัญหาจากภัยคอมมิวนิสต์ทำให้ชาวม้งมีบทบาททางการเมืองชั่วคราว คือ การมีบทบาท "เป็นชาวเขาอาสาสมัคร" เพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้การที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ส่งเสริมการท่องเที่ยวทำให้งานหัตถกรรมของชาวม้งกลายเป็นสินค้า จึงทำให้หญิงชาวม้งมีบทบาทเพิ่มขึ้นอีกด้านหนึ่ง คือ การหารายได้ให้กับครอบครัว 3. ยุคการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (พ.ศ. 2525 - ปัจจุบัน) หญิงชาวม้งมีสถานภาพและบทบาทที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กว่า 40 ปี ทั้งด้านการศึกษา เศรษฐกิจ การเมือง และกฎหมาย (2) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปัจจุบัน ทำให้ชาวม้งเปลี่ยนแปลงค่านิยมและวิถีชีวิต เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากสังคมไทยและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปภายในสังคมม้ง โดยชาวม้งนิยมส่งลูกชายและลูกสาวเรียนหนังสืออย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น ทำให้ผู้หญิงมีการศึกษาสูงก็จะมีสถานภาพที่สูงขึ้น รวมทั้งมีบาบาทในการพัฒนาชุมชนมากขึ้น นอกจากนี้จากสภาพที่บีบคั้นทางเศรษฐกิจทำให้หญิงชาวม้งมีบทบาทในการทำงานหารายได้ไปให้กับครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย ทำให้มีอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้น (3) แนวทางในการส่งเสริมสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง คือ ควรส่งเสริมการศึกษาให้แก่ประชากรในชุมชนมากขึ้น ควรปลูกฝังค่านิยมความเท่าเทียมของชายหญิงภายในครอบครัว และเปิดโอกาสให้ผู้หญิงเป็นผู้นำทางการเมือง เพื่อให้ผู้หญิงได้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายเพื่อพัฒนาสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง อีกทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา ควรมีการกระจายทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรเงินเข้าไปช่วยในการพัฒนาสถานภาพและบทบาทของหญิงชาวม้ง และควรมีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับความเสมอภาคของหญิงชาวม้งและชายเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสถานภาพและบทบาทรวมทั้งด้านอื่นๆ ต่อไป
รายละเอียด: ทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/970
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (16).pdfเอกสารฉบับเต็ม7.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons