Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธัญนันท์ รุ่งเรือง, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-25T03:24:57Z-
dc.date.available2023-09-25T03:24:57Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9716-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาสภาพโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์ (2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์(3) เสนอแนะแนวทางการตัดสินใจลงทุนในโครงการดังกล่าว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเชิงประยุกต์โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ เจาะจง ผู้ทำหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบสมุนไพรของโรงพยาบาลที่ผลิตยาสมุนพรในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 2 แห่ง และรวบรวมข้อมูล ทุติยภูมิต่างๆ มาดำเนินการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านตลาด ด้านเทคนิค การจัดการและการเงิน ผลการศึกษาเป็นดังนี้(1) ผลการศึกษาสภาพโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร พบว่าจากปัญหาความไม่เพียงพอ ของแหล่งซัพพลายวัตถุดิบในการผลิตยาสมุนไพร ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบ และผู้ผลิตยาสมุนไพรต้องการใช้สมุนไพรที่แปรรูป เพื่อความสะดวกและลดภาระต้นทุนการแปรรูปวัตถุดิบ ซึ่งโครงการนี้ริเริ่มดำเนินการโดยภาคเอกชนเป็นธุรกิจขนาดย่อมโครงการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผลิตภัณฑ์คือสมุนไพรที่แปรรูปโดยการทำให้แห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยา สมุนไพร ลูกค้าคือผู้ผลิตยาสมุนไพร และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ให้มีวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอ และเป็นการเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรในชุมชน (2)ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ(2.1) ด้านตลาดพบว่าแนวโน้มการใช้ยาสมุนไพรของโรงพยาบาลในพื้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการใช้วัตถุดิบสมุนไพรเพึ่มขึ้น ตลาดเป้าหมายคือโรงพยาบาลที่ผลิตยา สมุนไพรในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ โรงพยาบาลกาบเชิงและโรงพยาบาลสังขะ โดยวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็น“วัตถุดิบสมุนไพรที่มี คุณภาพสะอาด ปลอดการปนเปื้อนและเพียงพอ” มูลค่ารวมของตลาดเป้าหมายเป็น772,571.25 บาทต่อปี และอัตราการเติบโต เฉลี่ยร้อยละ 17.41 ต่อปี และกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญคือด้านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและปริมาณเพียงพอ (2.2) ด้านเทคนิค พบว่าทำเลที่ตั้ง การขนส่งสะดวก ใกล้แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิตประกอบด้วย 1.การรับวัตถุดิบสมุนไพรสดและตรวจสอบ คุณลักษณะ 2. การทำความสะอาดและคัดแยก 3. การสับ หั่น ย่อยขนาด 4. การทำให้แห้ง ตามชนิดและส่วนสมุนไพร 5. การบรรจุ หีบห่อ และมีต้นทุนสินค้าเฉลี่ยร้อยละ 35 ของยอดขาย (2.3) ด้านการจัดการ ใช้แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืชสมุนไพรในชุมชน บุคลากรต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความชำนาญเรื่องสมุนไพรกระบวนการผลิตที่ดี (2.4)ด้านการเงิน พบว่า1.เงินลงทุนครั้งแรกเท่ากับ1,030,000 บาทแหล่งเงินทุนคือส่วนของเจ้าของร้อยละ 15.53และร้อยละ84.47 จากการกู้ยืม2.ในปีแรกจะมีผลกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 89,753.05บาทแต่ขาดทุนสุทธิ51,580.28 บาท และมีกำไรสุทธิในปี ที่ 2 เป็นต้นไป 3. การประเมินค่าโครงการลงทุนโดยวิธีระยะเวลาคืนทุน( Payback period,PB) มีค่าเท่ากับ 3.57ปี ซึ่งโครงการมีอายุ 10ปีดังนั้นยอมรับโครงการ4. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่ายอดขายณจุดคุ้มทุนในปีแรกคือ439,415.38 บาท เมื่อเทียบกับ ประมาณการคือ 577,497.01 บาท จะสูงกว่าจุดคุ้มทุน เมื่อศึกษาสภาพโครงการและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการทั้ง 4 ด้าน สามารถสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ไนทุกด้านและสามารถตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้ได้ (3)ข้อเสนอแนะในการตัดสินใจลงทุน ควรมีการบริหารจัดการวัตถุดิบสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพและมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectสมุนไพร--ไทย--สุรินทร์--การแปรรูปth_TH
dc.titleความเป็นไปได้ของโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์th_TH
dc.title.alternativeFeasibility study of the crude herbal processing product project in Tambon Tangjai, Muang District, Surin Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were 1) to study the crude herbal processing product project in the area of Tambon Tangjai, Muang District, Surin; 2) to analyze the feasibility of the crude herbal processing product project in four main aspects including marketing, technical, management and finance.; 3) to suggest some decision approaches for the project investment. The applied study was conducted to collect the primary data by purposive in-dept interview and secondary data. All data were used to analyze the feasibility of the project. The findings of the study were as follows: 1) The study of the crude herbal processing product project found that the project was initiated by a private sector as an SME in Tambon Tangjai, Muang District, Surin. The products were processed herbs which dried before being used as crude herbs and later used for herbal medicine production. The customers were herbal medicine producers. The project met the requirements of the customers because there were sufficient good-quality herbs. Furthermore, the project helped increasing herbal value of the community. However, the problems were the insufficiency of crude herbal suppliers; the quality of the crude herbs; and the herbal medicine producers needed the processed herbs because they helped comforting and decreasing the crude processing cost.2) The results of project feasibility on marketing, technical, management, and finance were presented respectively. (2.1)The marketing feasibility revealed that the probability of the herbal use of the hospitals was increasing. Consequently, the requirements of crude herbs were also increased. The marketing targets were the community hospitals that produced herbs: Karbcheong Hospital and Sangkha Hospital. The yearly value of the target market was 772,571.25 baht. The growth rate was 17.41% a year. The marketing strategies of herbal products used were “clean, good quality, uncontaminated and sufficient.” (2.2)The technical feasibility showed that the project location enabled the comfortable transportation because the crude herbal areas were located nearby. The production processes consisted of 1) getting the natural herbs and inspecting the types of herbs; 2) cleaning and separating herbs;3) chopping and blending;4) entering drying process by focusing on types and parts of herbs; and 5) packaging. The product cost was 35% of the sale. (2.3)The management feasibility showed that the conceptual framework of the project focused on the friendly-environmental business conduction and community’s herb value adding. Nevertheless, the personnel had to be well-trained and knowledgeable in herbs. Also, the production process had to be qualified. (2.4)The finance feasibility found that (1) the first investment cost was 1,030,000 baht (the owner 15.53% and the loan 84.47%). (2) The first year showed gross profit was 89,753.05 baht, but the net loss was 51,580.28. However, the net profit started obtaining in the second year. (3) The assessment of the project’s investment cost by studying the payback period was 3.57 years. The project was 10 years period, so the project was accepted. (4) The analysis of the breakeven point found that the sale at the breakeven point of the first year was 439,415.38 baht, that compared with the estimated sale was 577,497.01 which higher . The study and the analysis of the project feasibility revealed that the project was feasible in those four aspects and the project could be invested.3) The proficiency of the crude herbal management and suitable marketing strategies were all suggestions before making decision in a project investment.en_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129166.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons