Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9716
Title: ความเป็นไปได้ของโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์
Other Titles: Feasibility study of the crude herbal processing product project in Tambon Tangjai, Muang District, Surin Province
Authors: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธัญนันท์ รุ่งเรือง, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: สมุนไพร--ไทย--สุรินทร์--การแปรรูป
Issue Date: 2554
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1)ศึกษาสภาพโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอ เมือง จังหวัดสุรินทร์ (2) วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร ในพื้นที่ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์(3) เสนอแนะแนวทางการตัดสินใจลงทุนในโครงการดังกล่าว การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษาเชิงประยุกต์โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ เจาะจง ผู้ทำหน้าที่จัดซื้อวัตถุดิบสมุนไพรของโรงพยาบาลที่ผลิตยาสมุนพรในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 2 แห่ง และรวบรวมข้อมูล ทุติยภูมิต่างๆ มาดำเนินการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านตลาด ด้านเทคนิค การจัดการและการเงิน ผลการศึกษาเป็นดังนี้(1) ผลการศึกษาสภาพโครงการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพร พบว่าจากปัญหาความไม่เพียงพอ ของแหล่งซัพพลายวัตถุดิบในการผลิตยาสมุนไพร ปัญหาด้านคุณภาพวัตถุดิบ และผู้ผลิตยาสมุนไพรต้องการใช้สมุนไพรที่แปรรูป เพื่อความสะดวกและลดภาระต้นทุนการแปรรูปวัตถุดิบ ซึ่งโครงการนี้ริเริ่มดำเนินการโดยภาคเอกชนเป็นธุรกิจขนาดย่อมโครงการ ตั้งอยู่ที่ ตำบลตั้งใจ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ผลิตภัณฑ์คือสมุนไพรที่แปรรูปโดยการทำให้แห้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตยา สมุนไพร ลูกค้าคือผู้ผลิตยาสมุนไพร และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ให้มีวัตถุดิบสมุนไพรที่มีคุณภาพดีอย่างเพียงพอ และเป็นการเพิ่มมูลค่าพืชสมุนไพรในชุมชน (2)ผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ(2.1) ด้านตลาดพบว่าแนวโน้มการใช้ยาสมุนไพรของโรงพยาบาลในพื้นที่เพิ่มขึ้น ส่งผลต่อการใช้วัตถุดิบสมุนไพรเพึ่มขึ้น ตลาดเป้าหมายคือโรงพยาบาลที่ผลิตยา สมุนไพรในจังหวัดสุรินทร์ ได้แก่ โรงพยาบาลกาบเชิงและโรงพยาบาลสังขะ โดยวางตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็น“วัตถุดิบสมุนไพรที่มี คุณภาพสะอาด ปลอดการปนเปื้อนและเพียงพอ” มูลค่ารวมของตลาดเป้าหมายเป็น772,571.25 บาทต่อปี และอัตราการเติบโต เฉลี่ยร้อยละ 17.41 ต่อปี และกลยุทธ์ทางการตลาดที่สำคัญคือด้านผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีและปริมาณเพียงพอ (2.2) ด้านเทคนิค พบว่าทำเลที่ตั้ง การขนส่งสะดวก ใกล้แหล่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิตประกอบด้วย 1.การรับวัตถุดิบสมุนไพรสดและตรวจสอบ คุณลักษณะ 2. การทำความสะอาดและคัดแยก 3. การสับ หั่น ย่อยขนาด 4. การทำให้แห้ง ตามชนิดและส่วนสมุนไพร 5. การบรรจุ หีบห่อ และมีต้นทุนสินค้าเฉลี่ยร้อยละ 35 ของยอดขาย (2.3) ด้านการจัดการ ใช้แนวคิดการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้พืชสมุนไพรในชุมชน บุคลากรต้องได้รับการพัฒนาความรู้ความชำนาญเรื่องสมุนไพรกระบวนการผลิตที่ดี (2.4)ด้านการเงิน พบว่า1.เงินลงทุนครั้งแรกเท่ากับ1,030,000 บาทแหล่งเงินทุนคือส่วนของเจ้าของร้อยละ 15.53และร้อยละ84.47 จากการกู้ยืม2.ในปีแรกจะมีผลกำไรจากการดำเนินงานเท่ากับ 89,753.05บาทแต่ขาดทุนสุทธิ51,580.28 บาท และมีกำไรสุทธิในปี ที่ 2 เป็นต้นไป 3. การประเมินค่าโครงการลงทุนโดยวิธีระยะเวลาคืนทุน( Payback period,PB) มีค่าเท่ากับ 3.57ปี ซึ่งโครงการมีอายุ 10ปีดังนั้นยอมรับโครงการ4. การวิเคราะห์จุดคุ้มทุนพบว่ายอดขายณจุดคุ้มทุนในปีแรกคือ439,415.38 บาท เมื่อเทียบกับ ประมาณการคือ 577,497.01 บาท จะสูงกว่าจุดคุ้มทุน เมื่อศึกษาสภาพโครงการและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการทั้ง 4 ด้าน สามารถสรุปได้ว่ามีความเป็นไปได้ไนทุกด้านและสามารถตัดสินใจลงทุนในโครงการนี้ได้ (3)ข้อเสนอแนะในการตัดสินใจลงทุน ควรมีการบริหารจัดการวัตถุดิบสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพและมีกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสม
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9716
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
129166.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.85 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons