Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9722
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฐาปนา ฉิ่นไพศาล, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธันย์ชนก วิเชียร, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.date.accessioned2023-09-25T03:58:18Z-
dc.date.available2023-09-25T03:58:18Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9722-
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา (2) ปัญหาและอุปสรรคการใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา (3) ข้อเสนอแนะจากการใช้ระบบพิจารณาอนุมติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้คือ พนักงานและลูกจ้างธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภค บริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา พบว่า การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ของธนาคารออมสินในเขต จังหวัดพังงา มีประสิทธิภาพรวดเร็วมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซํ้าช้อน ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ ความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลได้ทุกขั้นตอน โดยมีกระบวนการทำงานแบบมีขั้นตอน เพื่อสร้างมาตรฐานในการอนุมัติสินเชื่อ และสามารถแจ้งให้ลูกค้าทราบได้อย่างชัดเจนถึงสถานะของคำขอกู้ มีเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อนั้น ๆ (2) ปัญหาและ อุปสรรคที่มีผลต่อการใช้ระบบพิจารณาอนุมืติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสิน ในเขตจังหวัดพังงา จากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปยังค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้ดังนี้คือ วิธีการ/ขั้นตอนการประมวล ในระบบพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อ รองลงมาคือ การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ เครื่องมือในการใช้ในระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (3) ข้อเสนอแนะจากการใช้ระบบพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา พบว่าควรมีการพัฒนา มาตรฐานของระบบ LOR ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน และลดขั้นตอนในการทำงานให้กระชับมากยี่งขึ้น รองลงมา ควรมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เพียงพอกับปริมาณงาน และควรมี การจัดฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้มีหลักสูตรครอบคลุมการดำเนินงานมากขึ้น และควรเพึ่มปริมาณเครื่อง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/-
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectธนาคารออมสินth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจth_TH
dc.subjectสินเชื่อผู้บริโภคth_TH
dc.titleการใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงาth_TH
dc.title.alternativeLoan origination system for consumer loan of Government Savings Bank in Phang-nga Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this study were to: (1) using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province (2) barriers of using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province (3) feedback from using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province The methodology of research used in this study was survey research. The populations were the amount of 60 bank officers and bank employees in Phang-Nga province. The tool used in this research was the questionnaire. Statistical Data were analyzed by the frequency distribution, the percentage, the mean and the standard deviation. The results showed that: (1) ) using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province found that it could service faster and more efficient and could reduce the steps of redundant work. The users could verify the accuracy of the documents and the information every step by themselves clearly, all of these could raise the standards for loan approval and be able to clearly inform the status of loan applications for the customers. The tools could analyze the customers’ ability to repay and could reduce the risk of lending.(2) the barriers of using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province found that the barriers were found in a moderate level. Sorted in order of the most average to the lowest average is as follows. Firstly, the method and processing steps of Loan Origination in loan approval. Secondly, the management of human resources. Thirdly, the data and information collecting. And lastly, the tools using in the system of Loan Origination in loan approval process. (3)Feedback from using the system of Loan Origination in loan approval process for consumption of Government Saving Bank in Phang-Nga province should contain the development of the LOR system to accordance with the requirements of practitioners and reduce the process of working to tighten even more. A minor should contain increasing the number of personnel in the performance to provide the sufficient workload. Subsequently, should be provided training courses for practitioners to have greater extensive operation. Lastly should increase the amount of computers and other devices to be enough for the demands of practitionersen_US
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
143729.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons