กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9722
ชื่อเรื่อง: การใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Loan origination system for consumer loan of Government Savings Bank in Phang-nga Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐาปนา ฉิ่นไพศาล
ธันย์ชนก วิเชียร, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ธนาคารออมสิน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
สินเชื่อผู้บริโภค
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา (2) ปัญหาและอุปสรรคการใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา (3) ข้อเสนอแนะจากการใช้ระบบพิจารณาอนุมติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจประชากรที่ใช้คือ พนักงานและลูกจ้างธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) การใช้ระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภค บริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา พบว่า การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ของธนาคารออมสินในเขต จังหวัดพังงา มีประสิทธิภาพรวดเร็วมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนการทำงานที่ซํ้าช้อน ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบ ความถูกต้องของเอกสาร และข้อมูลได้ทุกขั้นตอน โดยมีกระบวนการทำงานแบบมีขั้นตอน เพื่อสร้างมาตรฐานในการอนุมัติสินเชื่อ และสามารถแจ้งให้ลูกค้าทราบได้อย่างชัดเจนถึงสถานะของคำขอกู้ มีเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์ความสามารถในการชำระหนี้ ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงในการอำนวยสินเชื่อนั้น ๆ (2) ปัญหาและ อุปสรรคที่มีผลต่อการใช้ระบบพิจารณาอนุมืติสินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค ของธนาคารออมสิน ในเขตจังหวัดพังงา จากผลการศึกษาพบว่าปัญหาและอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน โดยเรียงตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดไปยังค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดได้ดังนี้คือ วิธีการ/ขั้นตอนการประมวล ในระบบพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อ รองลงมาคือ การจัดการเกี่ยวกับทรัพยากรบุคคล การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ เครื่องมือในการใช้ในระบบพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ (3) ข้อเสนอแนะจากการใช้ระบบพิจารณาอนุมัติ สินเชื่อในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของธนาคารออมสินในเขตจังหวัดพังงา พบว่าควรมีการพัฒนา มาตรฐานของระบบ LOR ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน และลดขั้นตอนในการทำงานให้กระชับมากยี่งขึ้น รองลงมา ควรมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในการปฏิบัติงานให้เพียงพอกับปริมาณงาน และควรมี การจัดฝึกอบรมสำหรับผู้ปฏิบัติงานให้มีหลักสูตรครอบคลุมการดำเนินงานมากขึ้น และควรเพึ่มปริมาณเครื่อง คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่นๆ ให้เพียงพอกับความต้องการของผู้ปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9722
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
143729.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons