Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9733
Title: | การใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับการปลูกกล้วยหอมทอง เพื่อการส่งออกของเกษตรกร อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี |
Other Titles: | Use of organic manure in Klaui Hom Thong (Musa sapientum Linn.) cultivation for export by farmers in Thayang District, Phetchaburi Province |
Authors: | สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา ฉลวย ดวงดาว, 2510- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | กล้วยหอมทอง--การปลูก ปุ๋ยอินทรีย์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาลักษณะพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี (2) ศึกษาการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ กับการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก (3) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ การวิจัยปรากฎผลว่า (1) เกษตรกรเป็นเพศชาย อายูระหว่าง 36-45 ปี จบการศึกษาภาคบังคับ (ป.4 หรือป.6) ประกอบอาชีพหลักเกษตรกรรม มีสมาชิกและ มีแรงงานในครัวเรือน 2 - 4 คน มีพื้นที่ถือครองเพื่อการเกษตร เฉลี่ย 25.58 ไร่ มีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออก 3 ไร่ ได้ผลผลิตกล้วยหอมทอง 2,001-3,000 กิโลกรัมต่อไร่จำหน่ายได้ในราคา9-10 บาทต่อกิโลกรัม มีรายได้ภาคเกษตรเฉลี่ย 173,440.22 บาทต่อปีต่อครัว เรือน มีรายจ่ายในการประกอบอาชีพเฉลี่ย 81,309.40 บาทต่อครัวเรือนต่อปี (2) ส่วนมากใช้ปุ๋ยคอกโดยเฉพาะมูล ไก่ ใช้ในอัตรา 2 ตันต่อไร่ ต่อครั้ง จำนวน 2 ครั้งต่อหนึ่งฤลูกาลผลิต เหตุที่เลือกใช้เพราะราคาถูก มีผลกระทบ ทางบวก คือ ใช้แล้วคุณภาพดินดีขึ้น แต่มีผลกระทบทางลบ คือ ทำให้สิ้นเปลืองแรงงาน ชึ่งมีประสบการณ์ในการใช้มาแล้วมากกว่า 6 ปีโดยได้รับความรู้จากหน่วยงานของรัฐ ตัดสินใจใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพราะต้องการสนองนโยบาย การส่งออกและการตลาด (3) เกษตรกรมีปัญหาเกี่ยวกับการขนส่ง ต้องการได้รับการสนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ ในการผลิต (4) ผลการวิเคราะให้หาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ในการใช้ปุ๋ยอินทรีย์กับการปลูกกล้วยหอมทองเพื่อการส่งออกกับรายได้ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9733 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
This item is licensed under a Creative Commons License