กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9743
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมเกษตรชีวภาพของเกษตรกรผู้ปลูกผัก ในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to bio-agricultural extension for vegetable gardeners in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันท์ สีสังข์, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เชตวัน พิกุลงาม, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ผัก--การปลูก
เทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร--ไทย
เกษตรกร--ไทย--กระบี่
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติ ทัศนคติ และความรู้ของเกษตรกรใน จังหวัดกระบี่เกี่ยวกับการใช้เกษตรชีวภาพในการปลูกผัก นอกจากนี้ยังศึกษาถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการนำเกษตร ชีวภาพไปปฏิบัติของเกษตรกรผู้ปลูกผักอีกด้วย ผลการวิจัยพบว่า (1) การปฏิบัติเกี่ยวกับการผลิตผักโดยการใช้เกษตรชีวภาพของเกษตรกรทางด้าน การเตรียมดินมีการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง สำหรับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกษตรกรส่วนใหญ่ปฏิบัติโดยการใช้ พืชสมุนไพร (2) ทัศนคติของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เกษตรชีวภาพทางด้านการเตรียมดิน ปรับปรุงบำรุงดิน และการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรเห็นว่ามีประโยชน์อยู่ในระดับสูง ส่วนข้อมูลด้านอื่น ๆ อยู่ในระดับปาน กลาง (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับเกษตรชีวภาพในระดับมาก ทางด้านประโยชน์ของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้ ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชผัก การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชฝักโดยวิธีเกษตรชีวภาพ การใส่ปูนขาวปรับปรุงบำรุงดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ตัวห้ำ และตัวเบียน (4) ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ เพศ จำนวนสมาชิกในครัวเรือนที่ ใช้แรงงานภาคเกษตร รายได้หลักของเกษตรกร รายได้รองของเกษตรกร ปัจจัยด้านทัศนคติของเกษตรกรในการ เตรียมดิน ปรับปรุงบำรุงดิน การป้องกันกำจัดศัตรูพืช และความรู้เกี่ยวกับเกษตรชีวภาพ มีผลต่อการยอมรับการ นำวิธีเกษตรชีวภาพไปปฏิบัติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9743
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
76434.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons