กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9754
ชื่อเรื่อง: | ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้ความรู้และบริการของสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Visitor satisfaction on providing of knowledge and services at Southern Botanical Garden in Classical Thai Literature |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พรชุลีย์ นิลวิเศษ, อาจารย์ที่ปรึกษา ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา วัชรินทร์ นวลแก้ว, 2502- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้--การบริการ |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพทั่วไปของสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ (2) ความพึงพอใจ ความคาดหวัง ผลที่บรรลุของประชาชนผู้ใช้บริการเกี่ยวกับการให้ความรู้และบริการของ สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ (3) เปรียบเทียบความพึงพอใจ ความคาดหวัง ผลที่บรรลุ ของผู้ใช้บริการที่อยู่ ในสถาบันการศึกษาและนอกสถาบันการศึกษาในการจัดการสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ และ (4) ข้อเสนอแนะของผู้ช้บริการในการจัดการสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายูเฉลี่ย 25.62ปี จบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา สถานภาพโสด ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลา และไม่มีตำแหน่งในสังคม ด้านสภาพเศรษฐกิจผู้ที่มี อาชีพส่วนใหญ่รับราชการรายได้เฉลี่ย 8,376.15 บาท กลุ่มที่อยู่ในสถาบันการศึกษามีรายได้เฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มที่ อยู่นอกสถาบันการศึกษา การเดินทางมาใช้บริการสวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ส่วนใหญ่ใช้เวลาเดินทาง 30 นาที-60 นาที ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เคยไปเที่ยวตามสถานที่ท่องเที่ยวธรรมชาติต่าง ๆ แต่ไม่เคยมาเที่ยว สวนพฤกษศาสตร์วรรณคดีภาคใต้ และทราบแหล่งข้อมูลจากการบอกเล่าของผู้ที่เคยมาใช้บริการ เมื่อทดสอบสมมติฐานพบว่า ความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระตับ 0.01 ได้แก่ (1) ความคาดหวังและผลที่บรรลุของทั้งผู้ใช้บริการที่อยู่ในสถาบันการศึกษาและนอกสถาบันการศึกษาและของ ผู้ใช้บริการของทั้ง 2 กลุ่ม และ (2) ความพึงพอใจของทั้ง 2 กลุ่มในด้านการให้บริการต้านความรู้ ด้านการให้บริการด้านการติดต่อเจ้าหน้าที่ ต้านการชัดการพื้นที่ ด้านการชัดการสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการชัด บริเวณแค้มป์พักแรม ด้านการบริการบ้านพักรับรอง และความพึงพอใจโดยภาพรวมในทุก ๆ ด้าน ส่วนความพึง พอใจด้านการใช้บริการอาคารสถานที่ของผู้ใช้บริการของ 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9754 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License