Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9770
Title: | การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างการหมุนเวียนงานแบบเต็มรูปแบบกับแบบแบ่งกลุ่มย่อยของนักรังสีการแพทย์ แผนกรังสีวินิจฉัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี |
Other Titles: | Comparison work efficiency between full functional and subset functional job rotation of radiologic technologist in Diagnostic Radiology Department at the Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital |
Authors: | ภาวิน ชินะโชติ ปวริศร ทิมาสาร, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การหมุนเวียนงาน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ การทำงาน |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการหมุนเวียนงานของนักรังสีการแพทย์ แผนกรังสีวินิจฉัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และ (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานระหว่างการหมุนเวียนงานแบบเต็มรูปแบบกับแบบแบ่งกลุ่มย่อย ของนักรังสีการแพทย์ แผนกรังสีวินิจฉัย คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โตยใช้กลุ่มตัวอย่างจากการคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญแผนกรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 9 ท่าน ด้วยวิธีการใช้ตารางของ โทมัส แมคมิลแลน และเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเคลฟาย ผลการศึกษาพบว่า (1) รูปแบบการหมุนเวียนงานของนักรังสีการแพทย์แบบแบ่งกลุ่มย่อย เป็นการหมุนเวียนงานเป็นแบบมีนักรังสีการแพทย์ที่มีประสบการณ์สูงในแต่ละห้องประจำห้องของตนเอง (ไม่ต้องหมุนเวียนงาน) ห้องละ 1 คน นักรังสีการแพทย์ที่มีประสบการณ์ปานกลาง หมุนเวียนงานเฉพาะห้องที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน (เช่น หมุนเวียนงานเฉพาะ General x-ray เท่านั้น) และนักรังสีการแพทย์ที่มีประสบการณ์น้อยหมุนเวียนงานในกลุ่มงานของตน และ (2) การหมุนเวียนงานแบบแบ่งกลุ่มย่อยมีประสิทธิภาพในการทำงานมากกว่าการหมุนเวียนงานแบบเต็มรูปแบบ ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจัดการทั่วไปในห้องตรวจ/รักษาทางรังสีด้านความชำนาญในการใช้งานเครื่องมือทางรังสีวินิจฉัยในแต่ละห้องตรวจ/รักษาทางรังสี ด้านการให้บริการผู้ป่วยในแต่ละห้องตรวจรักษาทางรังสี ด้านการสื่อสารและการประสานงาน และด้านความพึงพอใจของนักรังสีการแพทย์ในการหมุนเวียนงาน ตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานจากการหมุนเวียนงานแบบแบ่งกลุ่มย่อยได้ คือ ควรจัดประชุมหรืออบรมทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนและเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการตรวจในแต่ละห้อง ควรเพิ่มระยะเวลาในการหมุนเวียนงานห้องตรวจ/รักษาทางรังสีที่มีหัตถการซับซ้อนมากกว่าห้องอื่นๆ ควรเพิ่มเกณฑ์ความชำนาญนอกเหนือจากประสบการณ์เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการจัดตารางการหมุนเวียนงาน ควรเพิ่มค่ตอบแทนความชำนาญแก่นักรังสีการแพทย์ และสำหรับผู้บรรจุเข้ามาใหม่ควรจัดให้มีการหมุนเวียนงานทุกห้องตรวจ/รักษาทางรังสีด้วย เพื่อจะได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และสนุกกับการทำงาน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9770 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_154738.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.25 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License