กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9771
ชื่อเรื่อง: | การใช้น้ำชลประทานของสมาชิกกลุ่มผู้ใช้น้ำในเขตจัดรูปที่ดินโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาท่ามะกาอำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Utilization of irrigation by water user groups in Land Consolidation Area : Tha Maka Operation and Maintenance Project, Tha Muang district, Kanchanaburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา ภรณี ต่างวิวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา ศุภกิจ ต้นวิบูลย์ศักดิ์, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การใช้น้ำ--ไทย--กาญจนบุรี น้ำในการเกษตร--ไทย--กาญจนบุรี. ชลประทาน--ไทย--กาญจนบุรี |
วันที่เผยแพร่: | 2546 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมาชิกกสุ่มผู้ใช้น้ำ ดังนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) การใช้ น้ำชลประทาน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้น้ำชลประทาน ผลการวิจัยพบว่า สมาชิกฯ มีอายูเฉลี่ย 53.8ปี ส่วนใหญ่ขบในระดับประถมศึกษา มีจำนวนแรงงานในตรอบ ครัวเฉลี่ย 2.2 คน มีขนาดพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 13.8 ไร่ สมาชิกฯเกึอบครึ่งมีพื้นที่รับน้ำทำการเกษตรอยู่กลางคู และมีรายได้ ทางการเกษตรเฉลี่ย 65,427.4 บาท การใช้น้ำชลประทานของสมาชิกฯ ในด้านการบริหารการใช้น้ำ พบว่าสมาชิกฯ ส่วนใหญ่ได้ รับแจังวันบำรุงรักษาคู-คลอง วันประชุม และมีการใช้คูน้ำถูกวิธี ด้านการใช้น้ำในคูทั้งของสมาชิก พบว่าปริมาณน้ำฯ และเวลา ที่ได้รับ ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ได้น้ำแบบตลอดเวลา ได้ตรง เพียงพอ และช่วงเวลาที่ได้รับนํ้าฯ ในฤดูฝนได้รับนํ้าในช่วงกลางวัน มากกว่าฤดูแล้ง ส่วนฤดูแล้งสมาชิกฯ ได้รับนํ้าทั้งกลางวันและกลางคืน ส่วนใหญ่สมาชิกฯ ใช้นำเพื่อการทำน้ำ และส่วนน้อยมี การใช้น้ำเพื่อการเลี้ยงวัว นอกจากทั้นสมาชิกฯ ยังใช้น้ำฯ ในกิจกรรมอื่นเพียงเล็กน้อย ด้านการบำรุงรักษาระบบชลประทาน เชิงข้องกัน พบว่า สมาชิกฯ ทั้งหมด ไม่น้ำสัตว์มาเลี้ยงบนคันคูและไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงคู-คลอง การบำรุงรักษาตามปกติ สมาชิกฯเกือบทั้งหมดทำการกำจัดวัชพืช และชุดลอกคูน้ำที่พื้นเชิง ด้านการมีส่วนร่วม พบว่าสมาชิกฯ ส่วนใหญ่ร่วมใช้แรงงาน ออกคำใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และสมาชิกฯเกือบหนึ่งในห้าเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ด้านความรู้เกี่ยวกับการใช้นํ้า ชลประทาน ด้านการบริหารการใช้พื้นฯ พบว่า สมาชิกฯเกือบทั้งหมดมีความรู้เรื่องการเสนอปัญหาการใช้นํ้าต่อหัวหน้าคู ด้าน การใช้น้ำในคูน้ำ พบว่า สมาชิกฯส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องการปิด-เปิดน้ำตามคิวรับน้ำ ด้านการบำรุงรักษา และด้านการมีส่วน ร่วม พบว่า สมาชิกฯทั้งหมด รู้เรื่องการไม่ทิ้งขยะมูลฝอยลงคูน้ำ และให้ความร่วมมือในการบำรุงรักษาระบบชลประทาน ระดับความรู้เกี่ยวกับการใช้นํ้าฯ พบว่า สมาชิกฯส่วนใหญ่มีความรู้ในระดับมาก ด้านแหล่งความรู้ที่ได้รับ สมาชิกฯ มากกว่าสี่ ในห้าได้รับจากเพื่อนบ้าน จากเข้าหน้าที่ชลประทาน และจากกลุ่มผู้ใช้น้ำฯ ปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำฯ ที่สำคัญ คือ สมาชิกฯไม่ ทำข้อตกลงการแบ่งปันนา ไม่แบ่งแปลงย่อยเพื่อเก็บกักน้ำ ขาดการดูแลสอบถามความคิดเห็นจากหัวหน้าถู ไม่มีเวลาเข้าร่วม ประชุม และไม่อยากเป็นกรรมการ ดังนั้นสมาชิกฯเสนอแนะให้จัดฝึกอบรม และดูงานให้กับสมาชิกฯ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9771 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License