Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9775
Title: | ความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ |
Other Titles: | Organizational commitment of employees at Maheyong School |
Authors: | กิ่งพร ทองใบ พรรัตน์ ทองมี, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี ความผูกพันต่อองค์การ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และ (3) เสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โรงเรียนเทศบาลวัคมเหยงคณ์ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาถือ บุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ จำนวน 300 คน กลุ่มตัวอย่างได้จำนวนทั้งสิ้น 171 คน ตามสูตรทาโรยามาเน่ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของโรงเรียนเทศบาลวัคมเหยงคณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการยอมรับนโยบาย เป้าหมายขององค์กร อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการมีส่วนร่วม ด้านความภาคภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งขององค์การ (2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์พบว่า บุคลากรของโรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ ที่มี เพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกัน ยกเว้นระดับรายได้ มีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางด้านสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากร โรงเรียนเทสบาลวัดมเหยงคณ์ แต่ละด้านพบว่า ด้านการยอมรับเป้าหมายขององค์กร ควรเพิ่มสวัสดิภาพและค่ตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านการมีส่วนร่วม ควรสนับสนุนให้มีเวทีระคมความคิดเพื่อการพัฒนางานด้านความภาคภูมิใจ ควรส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมและบริการ ที่เป็นเลิศ ผู้บริหารระดับสูงควรประเมินการปฏิบัติงานตามผลงานอย่างเป็นรูปธรรมทั้งองค์การ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9775 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_153252.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License