Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9777
Title: ความผูกพันธ์ต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร
Other Titles: Organizational commitment of employees at SatapatNakhon Technolgy College
Authors: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
สุพรรณี มาศเมฆ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผูกพันต่อองค์การ
บุคลากรทางการศึกษา
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร (2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร จําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางการสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ บุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร จํานวน 300 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จํานวนทั้งสิ้น 171 คน ตามสูตรทาโร ยามาเน่ โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบชันภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น ทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การ ทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผูกพันต่อองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นครโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ด้าน โดยเรียงลําดับดังนี้ ด้านการยอมรับ ด้านความภาคภูมิใจ ด้านการทุ่มเทความสามารถ และด้านความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ (2) ผลการเปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การของวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร พบว่า บุคลากรของวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร ที่มีเพศ อายุ สถานภาพการสมรส ระดับการศึกษา ตําแหน่งงาน ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ไม่แตกต่างกันยกเว้นระดับรายได้ มีระดับความผูกพันต่อองค์การแตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางการสร้างเสริมความผูกพันต่อองค์การของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีสถาปัตย์นคร แต่ละด้าน พบว่า ด้านการยอมรับความเพิ่มสวัสดิการและค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ด้านความภาคภูมิใจควรส่งเสริมวัฒนธรรมการทํางานเป็นทีมและการบริการที่เป็นเลิศ ด้านการทุ่มเทความสามารถควรสนับสนุนให้เกิดเวทีการระดมความคิดเพื่อการพัฒนางาน และด้านความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบผู้บริหารระดับสูงควรประเมินการปฏิบัติงานตามผลงานอย่างเป็นรูปธรรมทั้งองค์การ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9777
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
149649.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.19 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons