กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9792
ชื่อเรื่อง: ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตมังคุดของสมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs in mangosteen production technology of the mangosteen quality improvement groups in Khlung district, Chanthaburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปราโมทย์ นุ้ยศรี, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--จันทบุรี
ชาวสวน--ไทย--จันทบุรี
มังคุด--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมาขิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุด อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ในเรื่องดังต่อไปนี้ (1) สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตมังคุด (3) ความรู้เกี่ยวกับ เทคโนโลยีการผลิตมังคุด และ (4) ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตมังคุด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจ สมาชิกกลุ่มปรับปรุงคุณภาพมังคุดมีอายุเฉลี่ย 45.02 ปี ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาภาคบังคับชั้นประถมศึกษา มีพื้นที่ทำสวนมังคุดเฉลี่ย 8.4 ไร่ มีประสบการณ์ในการ ทำสวนมังคุดเฉลี่ย 13.54 ปี มีแรงงานในครอบครัวที่ใช้ในการทำสวนมังคุดเฉลี่ย 2.46 คน มีรายได้จากการ จำหน่ายมังคุดโดยเฉลี่ย 73,386.08 บาท มีต้นทุนการผลิตมังคุดโดยเฉลี่ย 25,146.84 บาท 2. สภาพการผลิตมังคุด สภาพพื้นที่สวนมังคุดของสมาชิกมากกว่าครึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม ลักษณะดิน เป็นดินร่วนปนทราย พันธุมังคุดที่ปลูกส่วนใหญ่ได้จากการเพาะเมล็ด มีการระบาดของโรคและแมลงศัตรูมังคุด สมาชิกเกือบครึ่งหนึ่งมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการในเรื่องการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรู มังคุด และการบันทึกข้อมูลการผลิตมังคุด 3. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตมังคุด สมาขิกมากกว่าสี่ในห้ามีความรู้ในระดับมาก 4. ความต้องการเทคโนโลยีการผลิตมังคุด โดยภาพรวม สมาชิกมีความต้องการระดับมาก สำหรับเทคโนโลยีด้านที่สมาขิกมีความต้องการในระดับมากที่สุดคือ การจัดการ 5 ด้าน เพี่อให้ได้ผลมังคุดมี คุณภาพดังนี้ ผิวมัน ปลอดจากสารพิษตกค้าง และปลอดจากศัตรูพืช มีนํ้าหนักไม่ตํ่ากว่า 70 กรัมต่อผล ปราศจากอาการเนื้อแก้วยางไหล และ การใช้สารเคมีที่ถูกต้องและเหมาะสมอีก 1 ด้าน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9792
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83596.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.95 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons