กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9793
ชื่อเรื่อง: สภาพการผลิตสับปะรดของเกษตรกรในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Pineapple production by farmers in Pran Buri district, Prachuap Khiri Khan province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ประเสริฐ จันวิไชย, 2503-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--ประจวบคีรีขันธ์
สับปะรด--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกษตรกรในอำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้ (1) สภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ (2) สภาพการผลิตสับปะรด และ (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ การผลิตสับปะรด ผลการวิจัยสรุปได้ว่า เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 49.5 ปี มากกว่าสองในสามจบการศึกษาขั้นสูงสุด ระดับประถมศึกษา เกือบสามในห้าเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร มีแรงงานในครัวเรือนสำหรับผลิตสับปะรด เฉลี่ย 2.6 คน จ้างแรงงานเฉลี่ย 3.6 คน มีพื้นที่ในการผลิตสับปะรดเฉลี่ย 42.4 ไร่ ประสบการณ์ในการผลิต สับปะรดเฉลี่ย 23.0 ปี เข้ารับการฝึกอบรมการผลิตสับปะรดเฉลี่ย 2.9ครั้ง มากกว่าสามในสี่เล็กน้อยกู้เงินมา ลงทุน มากกว่าครึ่งหนึ่งจำหน่ายผลผลิตผ่านพ่อล้า สองในห้ามีรายส่วนใหญ่จากการผลิตสับปะรด เกือบทั้ง หมดได้รับข่าวสารจากสี่อบุคคล สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่มีความเหมาะสม เกษตรกรทั้งหมดปลูกโดยใข้ พันธุปัตตาเวีย ส่วนใหญ่ใข้วิธีการปลูกแบบแถวคู่ มีการไถดะ ไถแปร มีการป้องกันโรคเน่าก่อนปลูก เกือบ ทั้งหมดใชัแก๊สบังคับการออกดอก มีการทำลายจุก มีการปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะและความสะอาดเป็น ส่วนใหญ่ เก็บเกี่ยวเมื่อผลสุกตามมาตรฐานโดยการหักผลออกจากต้นไม่หักล้านแล้วหักจุก ส่งโรงงานหรือกู้ รับซื้อภายใน 1-2 วัน มีเกษตรกรส่วนน้อยที่จคบันทึกการปฏิบัติในขั้นตอนการผลิต ปัญหาที่เกษตรกรส่วน ใหญ่ประสบ คือ การกำจัดวัชพืช ดินขาดความลุดมสมบุรณ์ ยังไม่ทราบเรื่องเกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับ สับปะรด ปัจจัยการผลิตมีราคาสูง ลัยธรรมชาติโดยเฉพาะฝนแล้ง ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่และคุณภาพผล ผลิตตํ่า ค่าแรงงานสูง ดังนั้นเกษตรกรจึงเสนอแนะให้รัฐสนับสนุนการปรับปรุงบำรุงดิน ให้ความรู้ในเรื่อง เกษตรดีที่เหมาะสมสำหรับสับปะรด การควบคุมราคาวัสดุการเกษตรที่จำเป็น และจัดหาแหล่งสนับสนุนเงิน ทุนโดยคิดอัตราคอกเบี้ยตํ่า
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9793
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83599.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons